บูชาพระรัตนตรัยก่อนทำวัตรเช้า
โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ,พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พระองค์ใดเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบแล้ว
สวากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม ,พระธรรมคือศาสนาที่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นพระองค์ใด ตรัสไว้ดีแล้ว
สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ,พระสงฆ์ คือผู้ทรงธรรมวินัย,ซึ่งเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นหมู่ใดเป็นผู้ปฏิบัติ ดีแล้ว,
ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง ,อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ, ข้าพเจ้าขอบูชาอย่างยิ่ง,ซึ่งพระ ผู้มีพระภาคเจ้านั้น, พร้อมทั้งพระสัทธรรม, และ พระอริยสงฆ์เจ้า ทั้ง หลาย, ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้,ข้าพเจ้าได้ยกขึ้นประดิษ- ฐานไว้ดีแล้วในที่อันสมควรอย่างยิ่ง เช่นนี้,
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ,พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้ปรินิพพานนานแล้วก็ตาม,ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ,ซึ่งยังประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่สาธุชนทั้งหลาย, ปัจฉิมา ชะนะตานุกัมปะม่นะสา,อิเมสักกาเร ทุคคะตะปัฒฒา การะภูเต ปะฏิคัณหาตุ, ขอจงรับเครื่องสักการะบรรณาการ,ของคนยากทั้งหลายเหล่านี้ด้วย เพื่ออนุเคราะห์แก่ประชุมชนผู้เกิดแล้วในภายหลังด้วย, อัมหากัง ฑีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ฯเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย,สิ้นกาลนานเทอญ (กราบ)
คำไหว้พระ
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์,ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ, ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน, (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว,
ธัมมัง นะมัสสามิ, ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม, (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว,
สังฆัง นะมามิ, ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์, (กราบ)
มาตาปิตุคุณัง อะหัง วันทามิ, ข้าพเจ้ากราบวันทาบิดามารดา ผู้มีพระคุณโดยความเคารพ, (กราบ)
คะรูปัชฌายาจะริยะคุณัง อะหัง วันทามิ, ข้าพเจ้ากราบวันทา ครู อุปัชฌาย์ อาจารย์ ผู้มีพระคุณโดยความเคารพ, (กราบ)
ปุพพภาคนมการ
(ผู้เป็นหัวหน้ากล่าวนำว่า) หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส ฯ
(สวดพร้อมกันว่า) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น,
อะระหะโต, ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส,
สัมมาสัมพุทธัสสะฯ ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
( ว่าสามครั้ง )
ทำวัตรเช้า
๑. พุทธาภิถุติ
(ผู้เป็นหัวหน้ากล่าวนำว่า)หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโรมะ เสฯ
(สวดพร้อมกันว่า)โย โส ตะถาคะโต,พระตถาคตเจ้านั้นพระองค์ใด
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,
วิชชาจะระณะสัมปันโน, เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ,
สุคะโต โลกะวิทู, เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง,
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ, เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษ ที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า,
สัตถาเทวะมะนุสสานัง, เป็นครูผู้สอน ของเทวดาและมนุษย์ ทั้ง หลาย,
พุทโธ, เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม,
ภะคะวา, เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์,
โย อิมัง โลกัง สะเทวะกัง สะมาระกัง สะพรหมะกัง, สัสสะมะ ณะพราหมะณิง ปะชัง สะเทวะมะนุสสัง สะยัง อภิญญา สัจฉิกัตวา ปะเวเทสิ, พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดได้ทรงทำความดับทุกข์ให้แจ้งด้วย พระปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ทรงสอนโลกนี้พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม และหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม
โย ทัมมัง เทเสสิ, พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดทรงแสดงธรรมแล้ว,
อาทิกัลยาณัง, ไพเราะในเบื้องต้น,
มัชเฌกัลยาณัง, ไพเราะในท่ามกลาง,
ปะริโยสานะกัลยาณัง, ไพเราะในที่สุด,
สาตถัง สะพยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง ปะริสุทธังพรหมะจะ ริยัง ปะกาเสสิ, ทรงประกาศพรหมจรรย์ คือแบบแห่งการปฏิบัติอันประเสริฐบริสุทธิ บริบูรณ์สิ้นเชิง, พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ
ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ, ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น,
ตะมะหัง ภะคะวันตัง สิระสานะมามิ ฯ ข้าพเจ้านอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า.
( กราบระลึกพระพุทธคุณ )
๒. ธัมมาภิถุติ
(ผู้เป็นหัวหน้ากล่าวนำว่า)หันทะ มะยัง ธัมมาภิถุติง กะโรมะ เสฯ
(สวดพร้อมกันว่า)โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,พระธรรมนั้นใด,เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว,
สันทิฏฐิโก, เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง,
อะกาลิโก, เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล,
เอหิปัสสิโก, เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด,
โอปะนะยิโก, เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว,
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ, เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน,
ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ, ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระธรรมนั้น,
ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิ ฯ ข้าพเจ้านอบน้อมพระธรรมนั้นด้วยเศียรเกล้า.
( กราบระลึกพระธรรมคุณ )
๓.สังฆาภิถุติ
(ผู้เป็นหัวหน้ากล่าวนำว่า)หันทะ มะยัง สังฆาภิถุติง กะโรมะ เสฯ
(สวดพร้อมกันว่า)โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น หมู่ใดปฏิบัติดีแล้ว,
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใดปฏิบัติตรงแล้ว,
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใดปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว,
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใดปฏิบัติสมควรแล้ว,ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ,
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฎฐะ ปุริสะปุคคะลา, คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่,นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ,
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, นั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า,
อาหุเนยโย, เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา,
ปาหุเนยโย, เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ,
ทักขิเณยโย, เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน,
อัญชะลีกะระณีโย, เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี,
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ, เป็นเนื้อนาบุญของโลก,ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า,
ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ, ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระสงฆ์หมู่นั้น,
ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ ฯ ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์หมู่นั้นด้วยเศียรเกล้า.
( กราบระลึกพระสังฆคุณ )
๔. รตนัตตยัปปะณามคาถา
(ผู้เป็นหัวหน้ากล่าวนำว่า) หันทะ มะยัง ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถาโย เจวะ สังเวคะปะริกิตตะนะปาฐัญจะ ภะณามะ เสฯ
(สวดพร้อมกันว่า) พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว, พระพุทธ เจ้าผู้บริสุทธิ์ มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพ,
โยจจันตะสุทธัพพะระญาณะโลจะโน, พระองค์ใดมีตา คือญาณอันประเสริฐหมดจดถึงที่สุด,
โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก, เป็นผู้ฆ่าเสียซึ่งบาปและอุปกิเลส ของโลก,
วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง,ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระ องค์นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ,
ธัมโม ปะทีโป วิยะ ตัสสะ สัตถุโน, พระธรรมของพระศาสดาสว่าง รุ่งเรืองเปรียบดวงประทีป,
โย มัคคะปากามะตะเภทะภินนะโก, จำแนกประเภทคือ มรรค ผล นิพพาน ส่วนใด,
โลกุตตะโร โย จะ ตะทัตถะทีปะโน, ซึ่งเป็นตัวโลกุตตระ,และส่วนใดที่ชี้แนวแห่งโลกุตตระนั้น,
วันทามิ ธัมมัง อะหะมาทะเรนะ ตัง,ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้นโดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ,
สังโฆ สุเขตตาภยะติเขตตะสัญญิโต, พระสงฆ์เป็นนาบุญอันยิ่ง ใหญ่กว่านาบุญอันดีทั้งหลาย,
โย ทิฏฐะสันโต สุคะตานุโพธะโก, เป็นผู้เห็นพระนิพพาน,ตรัสรู้ตามพระสุคตหมู่ใด,
โลลัปปะหีโน อะริโย สุเมธะโส, เป็นผู้ละกิเลสเครื่องโลเล เป็นพระอริยเจ้า มีปัญญาดี,
วันทามิ สังฆัง อะหะมาทะเรนะ ตัง, ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ,
อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง,วัตถุตตะยัง วันทะยะตาภิสัง ขะตัง,ปุญญัง มะยา ยัง มะมะ สัพพุปัททะวา, มาโหนตุ เวตัสสะ ปะภาวะสิทธิยา ฯ บุญใดที่ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ ซึ่งวัตถุสาม คือ พระรัตนตรัยอันควรบูชายิ่งโดยส่วนเดียว,ได้กระทำแล้วเป็นอย่าง ยิ่งเช่นนี้, ขออุปัททวะทั้งหลาย,จงอย่ามีแก่ข้าพเจ้าเลย,ด้วยอำนาจความสำเร็จอันเกิดจากบุญนั้น.
อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน, พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้ว ในโลกนี้,
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,
ธัมโม จะ เทสิโต นิยยา นิโก, และพระธรรมที่ทรงแสดง เป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์,
อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก,เป็นเครื่องสงบกิเลส,เป็นไปเพื่อนิพพาน,
สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต,เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม,เป็นธรรมที่พระสุคตประกาศ,
มะยันตัง ธัมมัง สุตวา เอวัง ชานามะ, พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว จึงได้รู้อย่างนี้ว่า,
ชาติปิ ทุกขา, แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์,
ชะราปิ ทุกขา, แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์,
มะระณัมปิ ทุกขัง, แม้ความตายก็เป็นทุกข์,
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา, แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์,
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข, ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์,
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข, ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์,
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง, มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์,
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา, ว่าโดยย่ออุปาทาน ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์,
เสยยะถีทัง, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ,
รูปูปาทานักขันโธ, ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือรูป,
เวทะนูปาทานักขันโธ, ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือเวทนา
สัญญูปาทานักขันโธ, ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสัญญา
สังขารูปาทานักขันโธ,ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือสังขาร
วิญญาณูปาทานักขันโธ, ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือวิญญาณ
เยสัง ปะริญญายะ, เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้อุปาทานขันธ์เหล่านี้เอง,
ธะระมาโน โส ภะคะวา, จึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่,
เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ, ย่อมทรงแนะนำสาวกทั้งหลาย เช่นนี้เป็นส่วนมาก,
เอวัง ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี พะหุลา ปะวันตะติ
อนึ่ง คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น,ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย,ส่วนมาก,มีส่วนคือการจำแนกอย่างนี้ว่า,
รูปัง อะนิจจัง, รูปไม่เที่ยง,
เวทะนา อะนิจจา, เวทนาไม่เที่ยง,
สัญญา อะนิจจา, สัญญาไม่เที่ยง,
สังขารา อะนิจจา, สังขารไม่เที่ยง,
วิญญานัง อะนิจจัง, วิญญาณไม่เที่ยง,
รูปัง อะนัตตา, รูปไม่ใช่ตัวตน,
เวทะนา อะนัตตา, เวทนาไม่ใช่ตัวตน,
สัญญา อะนัตตา, สัญญาไม่ใช่ตัวตน,
สังขารา อะนัตตา, สังขารไม่ใช่ตัวตน,
วิญญานัง อะนัตตา, วิญญาณไม่ใช่ตัวตน,
สัพเพ สังขารา อะนิจจา, สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง,
สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ, ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน ดังนี้
เต (หญิงว่า ตา) มะยัง โอติณณามหะ, พวกเราทั้งหลาย เป็นผู้ถูกครอบงำแล้ว
ชาติยา, โดยความเกิด,
ชะรามะระเณนะ, โดยความแก่ และความตาย,
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ, โดยความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ทั้งหลาย,
ทุกโขติณณา,เป็นผู้ถูกความทุกข์ หยั่งเอาแล้ว,
ทุกขะปะเรตา, เป็นผู้มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้ว,
อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขะธัสสะ อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ, ทำไฉนการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้, จะถึงปรากฏชัดแก่เราได้,
สำหรับภิกษุสามเณรพึงสวด
จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ อะระหันตัง สัมมา สัมพุทธัง, เราทั้งหลาย อุทิศเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,แม้ปรินิพพานนานแล้ว พระองค์นั้น,
สัทธา อะคารัสมา อะนะคาริยัง ปัพพะชิตา, เป็นผู้มีศรัทธาออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว,
ตัสมิง ภะคะวะติ พรัหมะจะริยัง จะรามะ, ประพฤติอยู่ซึ่งพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น,
ภิกขูนัง สิกขาสาชีวะสะมาปันนา, ถึงพร้อมด้วยสิกขาและธรรมเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิตของพระภิกษุทั้งหลาย,
ตังโน พรัหมะจะริยัง อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ, ขอให้พรหมจรรย์ของเราทั้งหลายนั้น,จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ เทอญ.
สำหรับอุบาสกอุบาสิกาพึงสวด
จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะโต (หญิงว่าคะตา), เราทั้งหลายผู้ถึงแล้วซึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า,แม้ปรินิพพานนานแล้ว,พระองค์นั้นเป็นสรณะ.
ธัมมัญจะ สังฆัญจะ, ถึงพระธรรมด้วย, ถึงพระสงฆ์ด้วย,
ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง ยะถาสะติ ยะถาพะลัง,มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชา มะ, จักทำในใจอยู่ ปฏิบัติตามอยู่ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ตามสติกำลัง,
สา สา โนปะฏิปัตติ, ขอให้ความปฏิบัตินั้นๆของเราทั้งหลาย,
อิมัสสะ เกวะสัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ, จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ เทอญ.
ตังขณิกปัจจเวกขณปาฐะ
(ผู้เป็นหัวหน้ากล่าวนำว่า) หันทะ มะยัง ตังขะณิกะปัจจะเวกขะ ณะปาฐัง ภะณามะ เส ฯ
(สวดพร้อมกันว่า)
ข้อว่าด้วยจีวร
ปะฏิสังขา โยนิโส จีวะรัง ปะฏิเสวามิ, เราย่อมพิจารณา โดยแยบคายแล้วนุ่งห่มจีวร,
ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะ, เพียงเพื่อบำบัดความหนาว,
อุณหัสสะ ปะฏิฆาตายะ, เพียงเพื่อบำบัดความร้อน,
ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง ปะฏิฆาตายะ, เพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย,
ยาวะเทวะ หิริโกปินะปะฏิจฉาทะนัตถัง, และเพียงเพื่อปกปิดอวัยวะ อันให้เกิดความละอาย,
ข้อว่าด้วยบิณฑบาต
ปะฏิสังขา โยนิโส ปิณฑะปาตัง ปะฏิเสวามิ, เราย่อมพิจารณา โดยแยบคายแล้วฉันบิณฑบาต,
เนวะ ทะวายะ, ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน,
นะ มะทายะ, ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเมามันเกิดกำลังพลังทางกาย,
นะ มัณฑะนายะ, ไม่ให้เป็นไปเพื่อประดับ,
นะ วิภูสะนายะ, ไม่ให้เป็นไปเพื่อตกแต่ง,
ยาวะเทวะ อิมัสสะ กายัสสะ ฐิติยา, แต่ให้เป็นไปเพียงเพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้,
ยาปะนายะ, เพื่อความเป็นไปได้ของอัตภาพ,
วิหิงสุปะระติยา, เพื่อความสิ้นไปแห่งความลำบากทางกาย,
พรัหมะจะริยานุคคะหายะ, เพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์,
อิติ ปุราณัญจะ เวทะนัง ปะฏิหังขามิ, ด้วยการทำอย่างนี้ เราย่อมระงับเสียได้ ซึ่งทุกขเวทนาเก่าคือความหิว,
นะวัญจะ เวทะนัง นะ อุปปาเทสสามิ, และไม่ทำทุกขเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น,
ยาตรา จะ เม ภะวิสสะติ อะนะวัชชะตา จะ ผาสุวิหาโรจาติ, อนึ่งความเป็นไปได้โดยสะดวกแห่งอัตภาพนี้ด้วย,ความเป็นผู้หาโทษมิได้ด้วย และความเป็นอยู่โดยผาสุกด้วย จักมีแก่เราดังนี้,
ข้อว่าด้วยเสนาสนะ
ปะฏิสังขา โยนิโส เสนาสะนัง ปะฏิเสวามิ, เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วใช้สอยเสนาสนะ,
ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะ, เพียงเพื่อบำบัดความหนาว,
อุณหัสสะ ปะฏิฆาตายะ, เพียงเพื่อบำบัดความร้อน,
ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง ปะฏิฆาตายะ, เพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย,
ยาวะเทวะ อุตุปะริสสะยะวิโนทะนัง ปะฏิสัลลานารามัตถัง, เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายอันจะพึงมีจากดินฟ้าอากาศ,และเพื่อ ความเป็นผู้ยินดีอยู่ได้ในที่หลีกเล้นสำหรับภาวนา,
ข้อว่าด้วยคิลานเภสัช
ปะฏิสังขา โยนิโส คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะริกขารัง ปะฏิเสวามิ, เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้ว บริโภคเภสัชบริขารอันเกื้อกูล แก่คนไข้,
ยาวะเทวะ อุปปันนานัง เวยยาพาธิกานัง เวทะนานัง ปะฏิฆาตายะ, เพียงเพื่อบำบัดทุกข์เวทนาอันบังเกิดขึ้นแล้ว,มีอาพาธต่างๆเป็นมูล,
อัพยาปัชฌะปะระมะตายาติ, เพื่อความเป็นผู้ไม่มีโรคเบียดเบียน เป็นอย่างยิ่ง ดังนี้.
ธาตุปัจจเวกขณะปาฐะ
(ผู้เป็นหัวหน้ากล่าวนำว่า)หันทะ มะยัง ธาตุปะฏิกูละปัจจะเวกขะ ณะปาฐัง ภะณามะ เส ฯ (สวดพร้อมกันว่า)
ข้อว่าด้วยจีวร
ยะถาปัจจะยัง ปะวัตตะมานัง ธาตุมัตตะเมเวตัง, สิ่งเหล่านี้ นี่เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติเท่านั้น,กำลังเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิตย์
ยะทิทัง จีวะรัง ตะทุปะภุญชะโก จะ ปุคคะโล, สิ่งเหล่านี้คือจีวร, และคนผู้ใช้สอยจีวรนั้น,
ธาตุมัตตะโก, เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติ,
นิสสัตโต, มิได้เป็นสัตวะอันยั่งยืน,
นิชชีโว, มิได้เป็นชีวะอันเป็นบุรุษบุคคล,
สุญโญ, ว่างเปล่าจากความหมาย แห่งความเป็นตัวตน,
สัพพานิ ปะนะ อิมานิ จีวะรานิ อะชิคุจฉะนียานิ,ก็จีวรทั้งหมดนี้, ไม่เป็นของน่าเกลียดมาแต่เดิม,
อิมัง ปูติกายัง ปัตวา, ครั้นมาถูกเข้ากับกายอันเน่าอยู่เป็นนิจนี้แล้ว,
อะติวิยะ ชิคุจฉะนียานิ ชายันติ, ย่อมกลายเป็นของน่าเกลียดอย่างยิ่งไปด้วยกัน,
ข้อว่าด้วยบิณฑบาต
ยะถาปัจจะยัง ปะวัตตะมานัง ธาตุมัตตะเมเวตัง, สิ่งเหล่านี้ นี่เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติเท่านั้น,กำลังเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิตย์
ยะทิทัง ปิณฑะปาโต ตะทุปะภุญชะโก จะ ปุคคะโล, สิ่งเหล่านี้คือบิณฑบาต, และคนผู้บริโภคบิณฑบาตนั้น,
ธาตุมัตตะโก, เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติ,
นิสสัตโต, มิได้เป็นสัตวะอันยั่งยืน,
นิชชีโว, มิได้เป็นชีวะอันเป็นบุรุษบุคคล,
สุญโญ, ว่างเปล่าจากความหมาย แห่งความเป็นตัวตน,
สัพโพ ปะนายัง ปิณฑะปาโต อะชิคุจฉะนียานิ,ก็บิณฑบาตทั้งหมดนี้, ไม่เป็นของน่าเกลียดมาแต่เดิม,
อิมัง ปูติกายัง ปัตวา, ครั้นมาถูกเข้ากับกายอันเน่าอยู่เป็นนิจนี้แล้ว,
อะติวิยะ ชิคุจฉะนีโย ชายะติ, ย่อมกลายเป็นของน่าเกลียดอย่างยิ่งไปด้วยกัน,
ข้อว่าด้วยเสนาสนะ
ยะถาปัจจะยัง ปะวัตตะมานัง ธาตุมัตตะเมเวตัง, สิ่งเหล่านี้ นี่เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติเท่านั้น,กำลังเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิตย์
ยะทิทัง เสนาสะนัง ตะทุปะภุญชะโก จะ ปุคคะโล, สิ่งเหล่านี้คือเสนาสนะ, และคนผู้ใช้สอยเสนาสนะนั้น,
ธาตุมัตตะโก, เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติ,
นิสสัตโต, มิได้เป็นสัตวะอันยั่งยืน,
นิชชีโว, มิได้เป็นชีวะอันเป็นบุรุษบุคคล,
สุญโญ, ว่างเปล่าจากความหมาย แห่งความเป็นตัวตน,
สัพพานิ ปะนะ อิมานิ เสนาสะนานิ อะชิคุจฉะนียานิ,ก็เสนาสนะทั้งหมดนี้, ไม่เป็นของน่าเกลียดมาแต่เดิม,
อิมัง ปูติกายัง ปัตวา, ครั้นมาถูกเข้ากับกายอันเน่าอยู่เป็นนิจนี้แล้ว,
อะติวิยะ ชิคุจฉะนียานิ ชายันติ, ย่อมกลายเป็นของน่าเกลียดอย่างยิ่งไปด้วยกัน,
ข้อว่าด้วยคิลานเภสัช
ยะถาปัจจะยัง ปะวัตตะมานัง ธาตุมัตตะเมเวตัง, สิ่งเหล่านี้ นี่เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติเท่านั้น,กำลังเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิตย์
ยะทิทัง คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะริกขาโร ตะทุปภุญชะโก จะ ปุคคะโล, สิ่งเหล่านี้คือเภสัชบริขาร อันเกื้อกูลแก่คนไข้, และคนผู้บริโภคเภสัชบริขารนั้น,
ธาตุมัตตะโก, เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติ,
นิสสัตโต, มิได้เป็นสัตวะอันยั่งยืน,
นิชชีโว, มิได้เป็นชีวะอันเป็นบุรุษบุคคล,
สุญโญ, ว่างเปล่าจากความหมาย แห่งความเป็นตัวตน,
สัพโพ ปะนายัง คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะริกขาโร อะชิคุจฉะนีโย,ก็คิลานเภสัชบริขารทั้งหมดนี้,ไม่เป็นของน่าเกลียดมาแต่เดิม,
อิมัง ปูติกายัง ปัตวา, ครั้นมาถูกเข้ากับกายอันเน่าอยู่เป็นนิจนี้แล้ว,
อะติวิยะ ชิคุจฉะนีโย ชายะติ, ย่อมกลายเป็นของน่าเกลียดอย่างยิ่งไปด้วยกัน,
โมรปริตรตัง
อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะ ภาโส ตังตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง ตะ ยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะ ธัมเม เต เน นะโม เต จะมัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พุทธานัง นะ มัตถุ โพธิยา นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา อิมัง โส ประริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสะนาฯ
อภยปริตตัง
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะโย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสิปินัง อะกันตัง พุทธานุภาเวนะ วินาสะ เมนตุ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะโย จามะนะโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะโย จะมะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ
เมตตานิสังสสุตตปวโฐ
เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมา รัทธายะเอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขาฯ กะตะเมเอกาทะสะ สุขัง สุปะติ สุขัง ปะฏิพุชฌะติ นะ ปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ มะนุส สานัง ปิโย โหติ อะมะนุสสานัง ปิโย โหติ เทวะตา รักขันติ นาสสะ อัคคิ วาวิสัง วา สัตถัง วา กะมะติ ตุวะฏัง จิตตัง สะมาธิยะติ มุขะวัณโณ วิปปะสีทะติ อะสัมมุฬโห กาลัง กะโรติ อุตตะริง อัปปะฏิวัชณันโต พรัหมะโลกูปะโค โหติ ฯ
เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมา รัทธายะ อิเม เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขาติ อิทะมะโวจะ ภะคะวา อัตตะมะนา เต ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุนติ ฯ
หันทะ มะยัง ทวัต ติงสาการะปาฐัง ภะณามะเส ฯ
อัตถิ อิมัสมิง
กาเย ในร่างกายนี้มี
เกสา ผมทั้งหลาย
โลมา ขนทั้งหลาย
นะขา เล็บทั้งหลาย
ทันตา ฟันทั้งหลาย
ตะโจ หนัง
มังสัง เนื้อ
นะหารู เอ็นทั้งหลาย
อัฎธี กระดูกทั้งหลาย
อัฏฐิมิญชัง เยื่อในกระดูก
วักกัง ไต
หะทะยัง หัวใจ
ยะกะนัง ตับ
กิโลมะกัง พังผืด
ปิหะกัง ม้าม
ปะฝาสัง ปอด
อันตัง ลำไส้
อันตระคุณัง ลำไส้สุด
อุทะริยัง อาหารในกระเพาะ
กะรีสัง อุจจาระ
ปิตตัง น้ำดี
เสมหัง เสลด
ปุพโพ หนอง
โลหิตัง โลหิต
เสโท เหงื่อ
เมโท มัน
อัสสุ น้ำตา
วะสา น้ำเหลือง
เขโฬ น้ำลาย
สิงฆาณิกา น้ำเมือก
ละสิกา น้ำลื่นหล่อข้อ
มุตตัง น้ำมูตร
มัตถะเก มัตถะลุง คัง
เยื่อมันสมองในกะโหลกศีรษะ
อิติฯ ดังนี้แล
วันทาพระ
วันทามิ พุทธัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะ เม ภันเต
วันทามิ ธัมมัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะ เม ภันเต
วันทามิ สังฆัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะ เม ภันเต
วันทามิ อาราเม พัทธะเสมายัง โพธิ รุกขัง เจติยัง สัพพะ
เมโทสัง ขะมะถะ เม ภันเต
วันทามิ ครูอุปัชฌาย์ อาจะริยะคุณัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะ
เม ภันเต
วันทามิ ภันเต ภะคะวา โลกะนาถัง อะติตัง เม โทสัง อะนาคะ
ตัง เมโทสัง ปัจจุปันนัง เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต
สาธุ สาธุ อะนุโมทามิฯ
กรวดน้ำย่อ
อิทัง เม ญาตินัง โหตุ ขอบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าเถิด
สุขิตา โหนตุ ฐาตะโยฯ ขอญาติทั้งหลาย จงเป็นสุขเถิด
กรวดน้ำตอนเช้า
(ผู้เป็นหัวหน้ากล่าวนำว่า) หันทะ มะยัง ปัตติทานะคาถาโย ภะณามะ เส ฯ
(แล้วสวดพร้อมกันว่า) ยา เทวะตา สันติวิหาระวาสินี, ถูเป ฆะเร โพธิฆะเร ตะหิง ตะหิง เทพธิดาทั้งหลายเหล่าใด มีปกติอยู่ในวิหาร, สิงสถิตที่เรือนพระสถูป, ที่เรือนโพธิ์ในที่นั้นๆ ;
ตา ธัมมะทาเนนะ ภะวันตุ ปูชิตา, โสตถิง กะโรนเตธะ วิหาระ มัณฑะเล, เทพธิดาทั้งหล่ายเหล่านั้น, เป็นผู้อันเราทั้งหลาย, บูชาแล้วด้วยธรรมทาน, ขอจงทำซึ่งความสวัสดี ความเจริญใน มณ- ฑลวิหารนี้ ;
เถรา จะ มัชฌา นะวะกา จะ ภิกจะโว, สารามิกา ทานะปะตี อุปา สะกา, พระภิกษุทั้งหลาย, ที่เป็นเถระก็ดี ที่เป็นปานกลางก็ดี ที่เป็นผู้บวชใหม่ก็ดี, อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายก็ดี,
คามา จะ เทสานิคะ มา จะ อิสสะรา, ที่เป็นทานบดี, พร้อมด้วยอารามิกชนก็ดี
สัปปาณะภูตา สุขิตา ภะวันตุ เต ชนทั้งหลายเหล่าใด, ที่เป็นชาวบ้านก็ดี, ที่เป็นชาวประเทศก็ดี, ที่เป็นชาวนิคมก็ดี, ที่เป็นอิสระเป็นใหญ่ก็ดี, ขอชนทั้งหลายเหล่านั้น, จงเป็นผู้มีความสุขเถิด ;
ชะลาพุชา เยปิ จะ อัณฑะสัมภะวา, สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นชลาพุชะกำเนิด (เกิดจากครรภ์) ก็ดี; ที่เป็นอัณฑะกำเนิด (เกิดจากฟองไข่) ก็ดี,
สังเสทะชาตา อะถะโวปะปาติกา ที่เป็นสังเสทะชะกำเนิด (เกิด ในเถ้าไคล) ก็ดี, ที่เป็นโอปาตะกะกำเนิด (เกิดขึ้นโตที่เดียว) ก็ดี;
นิยยานิกัง ธัมมะวะรัง ปะฏิจจะเต, สัพเพปิ ทุกขัสสะ กะโรนตุ สังขะยัง, สัตว์ทั้งหลายแม้ทั้งปวงเหล่านั้น, ได้อาศัยซึ่งธรรมอันประเสริฐ, เป็นนิยานิกะธรรม, ประกอบในอันนำผู้ปฏิบัติ, ให้ออกไปจากสังสารทุกข์ จงกระทำซึ่งความสิ้นไปพร้อมแห่งทุกข์เถิด;
ฐาตุ จิรัง สะตัง ธัมโม ธัมมัทธะรา จะ ปุคคะลา, ข้อธรรมของ สัตบุรุษทั้งหลาย, จงตั้งอยู่นาน, อนึ่งขอบุคคลทั้งหลาย, ผู้ทรงไว้ซึ่งธรรม, จงดำรงอยู่นาน;
สังโฆ โหตุ สะมัคโค วะ อัตถายะ จะ หิตายะ จะ, ขอพระสงฆ์จงมีความสามัคคี, พร้อมเพรียงกัน,ในอันทำซึ่งประโยชน์, และสิ่งอัน เกี้อกูลเถิด ;
อัมเห รักขะตุ สัทธัมโม สัพเพปิ ธัมมะจาริโน, ขอพระสัทธรรม จงรักษาไว้ซึ่งเราทั้งหลาย, แล้วจงรักษาไว้ซึ่งบุคคลทั้งหลาย, ผู้ประ พฤติซึ่งธรรมแม้ทั้งปวง ;
วุฑฒิง สัมปาปุเณย ยามะ ธัมเม อะริยัปปะเวทิเต, ขอเราทั้งหลายพึงถึงพร้อมซึ่งความเจริญ, ในธรรมที่พระอริยเจ้า, ประกาศไว้แล้วเถิด,
ปะสันนา โหนตุ สัพเพปิปาณิโน พุทธะสาสะเน สัมมา ธารัง ปะเวจฉันโต กาเลเทโว ปะวัสสะตุ วุฑฒิภาวายะ สัตตานัง สะมิทธังเนตุเมทะนิง มาตาปิตาจะอัตระชัง นิจจัง รักขันติ ปุตตะกัง เอวัง ธัมเมนะ ราชาโน ปะชังรักขันตุ สัพพะทา ฯ
คำกรวดน้ำภาษาไทยโบราณ
บุญทานที่ทำ กลายเป็นข้าวน้ำ เครื่องทิพย์นานาเป็นวิมานทอง เรืองรองโสภา กับทั้งนางฟ้า พันหนึ่งบริวาร เครื่องทิพย์ครั้งนี้ ส่งถึงชนนี บิดาอย่านาน ถึงญาติทุกหมู่ ครูบาอาจารย์ พ้นทุกข์อย่านาน ได้วิมานทอง ฝูงเปรตทั้งหลาย นรกอสุรกาย หมู่สัตว์ทั้งผอง เต่า ปลา ปู หอย กุ้งน้อยเนืองนอง จงตั้งใจปอง รับเอาส่วนบุญ สัตว์น้อย สัตว์ใหญ่ ตัวเรานี้ไซร้ ได้กระทำทารุณ ด้วยกายน้ำใจ ฝากไว้เป็นทุน รับเอาส่วนบุญ อย่างเป็นเวรกรรม อินทราเทวา อีกทั้งพรหมา ท้าวเวสสุวรรณ พระภูมิเจ้าที่ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระอังคาร พุทธัญ พฤหัสบดี พระศุกร์ พระเสาร์ เทพเจ้าทั้งหลาย สิบสองราศีพระยม พระกาฬ จตุโลกบาลทั้งสี่ ครุฑานาคี กินรี กินนรา เทพเจ้าทั้งหลาย ทั้งหญิงและชาย จงอนุโมทะนารับเอากุศลผลบุญนี้หนา ทั้งพสุธา คงคาวารี ชื่อว่าเข็ญใจ ขอจงอย่าได้ ไปบังเกิดมี ความยากอย่าได้เห็น ขอให้เป็นเศรษฐี คฤหบดี มนตรีพระยา คนพาลอย่าได้พบ ขอให้ประสพคนมีปัญญา เดชกุศลให้พ้นอุรา ขอให้ตัวข้า พบพระศีรอาริย์ ได้ฟังคำสอน จิตใจโอนอ่อน สำเร็จอย่านาน ลุถึงเมืองแก้วกล่าวแล้วพระนิพพาน ดับชาติสังขาร จากโลกโลกีย์ ฯ
แผ่เมตาให้ตนเอง
อะหัง สุขิโต โหมิ : ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
อะหัง นิททุกโข โหมิ : ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากทุกข์
อะหัง อะเวโร โหมิ : ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวร
อะหัง อัพยาปัชโช โหมิ : ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรค อันตรายทั้งปวง
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ : ขอให้ข้าพเจ้าจงมีสติสัมปชัญญะอยู่ทุกเมื่อ,เพื่อรักษากาย วาจา ใจให้พ้นทุกข์ภัย อันตรายทั้งหมดทั้งสิ้น
แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์
สัพเพ สัตตา : สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา : จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าให้มีเวรต่อกันและกันเลย
อัพยาปัชฌา : จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้มีความเจ็บไข้ ลำบากกายลำบากใจเลย
อะนีฆา : จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ : จงมีความสุขกายสุขใจ, รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยอันตรายทั้งหมดทั้งสิ้นเถิด, ท่านทั้งหลายที่ท่านได้ทุกข์ขอให้พ้นจากทุกข์, ท่านทั้งหลายที่ท่านได้สุข ขอให้มีความสุขยิ่งๆ ขึ้นไป
สัพเพ สัตตา : สัตว์ทั้งหลายที่เกิดเป็นชะลาพุชะ, ที่เกิดเป็นอันฑะชะ, ที่เกิดเป็นสังเสทะชะ, ที่เกิดเป็นโอปะปาติกะ, จงมารับเอากุศลผลบุญ ให้ถ้วนทั่วทุกตัวสัตว์เทอญ
อธิษฐานจิต
ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอุทิศผล บุญกุศลนี้แผ่ไปให้ไพศาล
ถึงบิดามารดาครูอาจารย์ ทั้งลูกหลานญาติมิตรสนิทกัน
คนเคยร่วมทำงานการทั้งหลาย มีส่วนได้ในกุศลผลของฉัน
ทั้งเจ้ากรรมนายเวรและเทวัญ ขอให้ท่านได้กุศลผลนี้เทอญฯ
ขอกุศลผลกรรมที่ทำนี้ จงเป็นที่ประจักษ์แจ้งทุกแห่งหน
จงสำเร็จแก่ญาติมิตรสนิทชน ที่เวียนวนตายเกิดกำเนิดมา
สรรพสัตว์ทุกถ้วนหน้าเทพารักษ์ จงประจักษ์ในกุศลผลนี้หนา
พ้นจากทุกข์ประสบสุขทุกเวลา สมดังข้าอุทิศให้ด้วยใจเทอญฯ
กรวดน้ำแผ่เมตตา
อิทัง โน ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
ขอเดชะตั้งจิตอุทิศผล บุญกุศลนี้แผ่ไปให้ไพศาล
ถึงบิดามารดาครูอาจารย์ ทั้งลูกหลานญาติมิตรสนิทกัน
ทั้งคนเคยร่วมรักสมัครใคร่ ขอให้ได้ส่วนกุศลผลของฉัน
ทั้งพระราชา, พระราชินี พระราชโอรส, พระราชธิดา
คณะรัฐบาล, ทหาร, ตำรวจ และสาธุชนทั้งหลาย
ที่ช่วยบำรุงพระพุทธศาสนา ขอให้ได้ส่วนบุญกุศลผลของฉัน
ทั้งเจ้ากรรมนายเวรและเทวัญ มีพระอินทร์, พระพรหม, พระยม, พระกาฬ ท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ พระภูมิเจ้าที่ นางพระธรณี พระเพลิง พระพาย พระแม่โพสพ พระแม่คงคา ตลอดทั้งสรรพสัตว์ทั้งหลายดวงวิญญาณทั้งหลายที่ได้รับความทุกข์ ขอให้พ้นจากทุกข์ ที่ได้รับความสุข ขอให้สุขยิ่งๆ ขึ้นไป ขอให้ท่านทั้งหลายเหล่านั้น จงได้รับอนุโมทนากุศลผลบุญที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญกันแล้วในวันนี้จงทุกคนทุกตนเทอญ ฯ
คำปรารภ
หนังสือสวดมนต์(แปลไทย)คู่มือ อุบาสก-อุบาสิกา ฉบับนี้ได้แปลความหมายจาก บาลีเป็นไทย เพื่อให้ผู้ปฏิบัติธรรมได้สวดทำวัตรเช้า-เย็น ให้เกิดความรู้ความเข้าใจในความหมาย ของบทพุทธมนต์ ที่ทำการสวดนั้น อันจะทำให้ผู้สวด ได้มีศรัทธาปสาทะ เกิดความซาบซึ้ง ในคุณของพระรัตนตรัย อันเป็นสรรพมงคลยิ่ง ทั้งเป็นการเพิ่มพูลบุญบารมี ในการปฏิบัติธรรมได้ครบองค์สามบริบูรณ์ทั้ง กาย วาจา ใจ คือ ตั้งใจ และ “เข้าใจ”
หนังสือเล่มนี้ ครอบครัว “ม้าทอง” พร้อมบุตร-ธิดา และคณะอุบาสก-อุบาสิกา วัดท่าทอง ได้จัดสร้างอุทิศให้ คุณพ่อเจริญ-คุณแม่แก้ว ม้าทอง เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๕ เป็นการจัดสร้างครั้งที่ ๑ ปัจจุบันหนังสือได้ชำรุดทรุดโทรม และมีจำนวนไม่พอเพียงกับผู้ปฏิบัติธรรม และสาธุชนที่สนใจใคร่รู้ ดังนั้น พระอาจารย์ บุญชู ฐิตเปโม จึงได้ปรารภกับคณะอุบาสก-อุบาสิกา วัดท่าทอง ในการรวบรวมทุนทรัพย์ จัดสร้างเป็นครั้งที่ ๒
จึงขออนุโมทนาบุญ กับทุกๆท่านที่ได้ร่วมบริจาคทรัพย์ ในการจัดสร้างครั้งนี้ ให้ได้รับความสุขสวัสดี โดยถ้วนทั่วทุกท่านทุกคน เทอญ. สาธุ อนุโมทนามิ ภะวันตุเม.
สำนักปฏิบัติธรรม สมปรารถนา (พระอ.บุญชู)
และ สำนักสักยันต์ นารายณ์สิบทิศ (อ.ฑูรย์)
ผู้ดำเนินงาน เผยแผ่เป็นธรรมทานแก่สาธุชนทุกท่านโดยครูน้อย นารายณ์พลิกแผ่นดิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น