เผยแพร่องค์ความรู้เกียวแก่เลขยันต์อักขระเป็นวิทยาทาน และให้เช่าบูชาเครื่องราง

ครูน้อย นารายณ์ พลิกแผ่นดิน. ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การสู่ขวัญ หรือ การสูตรขวน



คนเผ่าไทย-ลาว อาศัยอยู่บริเวณลุ่มน้ำโขงและสาขาต่างๆ ของแม่น้ำโขง ตั้งแต่แคว้นสิบสองปันนาในมณฑลยูนนานของประเทศจีน ลงมาจนถึงลุ่มน้ำโขงตอนล่างในภาคอีสานของประเทศไทย และภาคใต้ของประเทศลาว คนเหล่านี้มีวัฒนธรรมและอารยธรรมที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน ภาคอีสานและชาวไทยอีสาน เป็นส่วนหนึ่งของผู้สืบทอดวัฒนธรรม และอารยธรรมดังกล่าว กาลเวลาได้ล่วงพ้นมาจนถึงปัจจุบัน สภาพเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง การปกครองของคนเผ่าไทย-ลาวได้เปลี่ยนแปลงไป โดยมีแนวคิด วิทยาการ และภูมิปัญญาจากดินแดนอื่นเข้ามาผสมปนเป ดังนั้น วัฒนธรรมและอารยธรรมของคนเผ่าไทย-ลาวเอง ก็ไม่ได้รับการยกเว้น
การสู่ขวัญ หรือ การสูตรขวน
ชีวิตที่แห้งแล้ง หดหู่ ห่อเหี่ยว หวั่นหวิวไปด้วยความวิตกกังวลและหมดหวังตลอดเวลา เรียกว่า ชีวิตที่ไม่มีชีวา ความเต็มเปี่ยมด้วยความพอใจรอบด้านน่าจะเรียกได้ว่านี่คือ "ชีวา" ศูนย์แห่งความสมดุลของชีวานี้จะเรียกได้ว่า "ขวัญ" การเสียขวัญย่อมจะส่งผลให้คนทำอะไรไม่ได้ ดีไม่ดีถึงกับเจ็บป่วยและอาจถึงตายก็ได้ ดังนั้นการสู่ขวัญจึงเป็นวิธีกรรมหนึ่งที่เรียกชีวากลับมาสู่ชีวิต ถ้าชีวิตมีชีวาก็จะสามารถทำอะไรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกี่ยวกับขวัญนี้มีการดำเนินการ เพื่อบำรุงขวัญดังนี้

การสู่ขวัญ
เป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่งซึ่งปราชญ์โบราณอีสานได้คิดขึ้น เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจแก่คน และเสริมศิริแก่บ้านเรือน ล้อเลื่อน เกวียน วัว รถ เป็นต้น เป็นการรวมศิริแห่งโภคทรัพย์ ดังคำที่ท่านพระศิริมังคลมหาเถระกล่าวไว้ว่า "สิริโภคานมาสโย" แปลว่า ศิริเป็นที่มารวมแห่งโภคสมบัติ
การสู่ขวัญ หรือ การทำพิธีเชิญขวัญ เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่ง ที่คนโบราณอีสานทำกันมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ และทำกันมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ เวลาที่มีแขกผู้มีเกียรติมาเยือนถึงถิ่น คนอีสานจะให้การต้อนรับด้วยการเลี้ยงข้าวปลาอาหาร อาจจะด้วยอาหารการกินตามมีตามเกิด ไม่ได้เอร็ดอร่อยเลิศเลอนัก แต่ก็เกิดจากความตั้งใจจริงในการต้อนรับ นอกจากการเลี้ยงดูแล้วก็ให้ที่หลับที่นอน และสู่ขวัญให้ การสู่ขวัญให้เป็นการแสดงออกซึ่งความรัก เคารพและนับถือ
ตัวขวัญ ก็คือตัวคนเรา ในตัวของคนแต่ละคนนั้น พระพุทธเจ้าสอนว่า มีของสองสิ่งรวมกันอยู่ ของสองสิ่งนั้นคือ ร่างกายและจิตใจ ร่างกายมีแข้งขา หูตา เป็นต้น เรามองเห็นได้ ส่วนใจไม่มีรูปร่างมองไม่เห็น แต่มีสิงอยู่ในร่างกาย ถ้าร่างกายปราศจากใจเมื่อไรก็จะถูกเรียกว่า ผี ร่างกายและจิตใจนี้พระพุทธเจ้าสอนว่า "ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว" ใจเป็นผู้สั่ง ร่างกายเป็นผู้ทำ เมื่อใจสั่งในทางที่ดี ร่างกายก็ทำในสิ่งที่ดี การสู่ขวัญก็คือ ยกย่องจิตใจให้ทำความดีความชอบ ทั้งในด้านศีลธรรม จารีตประเพณี และศิลปวัฒนธรรม

พาขวัญ
พาขวัญ คือ ภาชนะที่จัดขึ้นเพื่อเรียกเอาขวัญ จะเล็กหรือใหญ่ก็ได้ สมัยโบราณใช้พาโตก ที่ทำด้วยไม้หรือทำด้วยทองก็ได้ เดี๋ยวนี้โตกหายากหรือไม่มีจึงหันมาใช้พานแทน จะใช้พาขวัญ ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้นหรือ ๙ ชั้นก็แล้วแต่ความต้องการของเจ้าภาพ หรือความสำคัญของแขกผู้มีเกียรตินั้น มีประเพณีนิยมตั้งเครื่องบูชา คือ บายศรี หรือขันหมากเบ็งซ้ายขวา (ทั้งนี้แล้วแต่ท้องถิ่น)
ในพาขวัญจะใส่ข้าวสาร กล้วย ข้าวต้ม ขนม ธูป เทียน ผ้าผืน แพรวา น้ำอบน้ำหอม ดอกไม้ ใส่ตามยอดบายศรี ฝ้ายผูกแขน (เส้นด้ายนี้กะให้เพียงพอแก่คนที่มาร่วมในงาน ที่เหลือจะเอาไปผูกแขนให้ลูกหลานที่บ้านก็ได้) เทียนฮอบหัว 1 เล่ม เทียนค่าคีง 1 เล่ม (ความยาวช่วงตัว จากเอวถึงไหล่) ไข่ไก่ต้ม เท่าจำนวนผู้จะรับการสู่ขวัญ (ถ้า 3 คน ก็ 3 ฟอง) เทียนมงคลตั้งบนจอม หรือยอดพาขวัญ คายบูชาขวัญให้ใส่ในซวยไว้ที่ยอดบายศรี
ก่อนประกอบพิธีให้เอาคายบูชานี้มา ผูกแขวนพราหมณ์ก่อน (เมื่อสูตรขวัญแล้ว บางคนก็ให้ค่าตอบแทนอีกต่างหาก บางคนก็ให้ค่าคาย บูชาแล้วก็แล้วไป สำคัญอยู่ที่ค่าคายบูชาจะต้องให้ ไม่ให้ไม่ได้ ส่วนค่าตอบแทนนั้น เป็นเรื่องน้ำใจ ของผู้เชิญพราหมณ์มาสูตรขวัญจะให้ก็ได้ ไม่ให้ก็ได้) การเข้าสู่พาขวัญผู้จะรับการสู่ ขวัญนั้นให้นั่ง ผินหน้าไปทางทิศที่ราศีประจำวันตั้งอยู่ จึงจะเป็นมงคล ราศีประจำวันตั้งอยู่นั้น ดังนี้
วันอาทิตย์
ราศีอยู่ทิศ
ปัจจิม
วันจันทร์
ราศีอยู่ทิศ
พายัพ
วันอังคาร
ราศีอยู่ทิศ
บูรพา
วันพุธ
ราศีอยู่ทิศ
อุดร
วันพฤหัสบดี
ราศีอยู่ทิศ
อิสาณ
วันศุกร์
ราศีอยู่ทิศ
ทักษิณ
วันเสาร์
ราศีอยู่ทิศ
อาคเนย์
เมื่อนั่งแล้วให้ประณมมือไปทางทิศหัวใจเป็นอยู่ ถ้าไม่รู้ให้พราหมณ์ในพิธีบอก หัวใจนั้น อยู่ประจำทิศต่าง ๆ ดังนี้
วันอาทิตย์
หัวใจเป็นอยู่ทิศ
อุดร
วันจันทร์
หัวใจเป็นอยู่ทิศ
หรดี
วันอังคาร
หัวใจเป็นอยู่ทิศ
อิสาณ
วันพุธ
หัวใจเป็นอยู่ทิศ
บูรพา
วันพฤหัสบดี
หัวใจเป็นอยู่ทิศ
อาคเนย์
วันศุกร์
หัวใจเป็นอยู่ทิศ
พายัพ
วันเสาร์
หัวใจเป็นอยู่ทิศ
ทักษิณ
จำง่ายๆ ว่า ทิตย์อุ จันทร์หอ คารอิ พุธบู พหัสอา ศุกร์พา เสาร์ทัก ประณมมือไปทิศทาง หัวใจเป็นอยู่ ทำให้เกิดมงคลแล
วันเวลาสู่ขวัญ
การสู่ขวัญไม่เลือกกาลเวลา จะทำเวลาไหนที่เห็นว่าเหมาะสมก็ได้ จะสู่ขวัญให้เด็กหรือผู้ใหญ่ ไพร่ผู้ดี มีหรือจนก็ได้ เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยก็สู่ขวัญให้เพื่อให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ เวลาได้ยศได้ตำแหน่งก็สู่ขวัญ เพื่อให้เจริญรุ่งเรืองในยศฐาบรรดาศักดิ์ เวลาไปทำมาค้าขายได้เงินทองข้าวของมาก็สู่ขวัญให้ เพื่อให้มั่งมีศรีสุขต่อไป คนอีสานจึงเกี่ยวข้องอยู่กับการสู่ขวัญในทุกกรณี งานของคนอีสานที่ทำมากที่สุด สิ้นเปลืองน้อยที่สุด และได้กำไรมากที่สุด ก็มีการสู่ขวัญนี้อย่างหนึ่ง
การสู่ขวัญนี้ไม่นิยมทำเฉพาะในวันจมและวันเดือนดับ (ข้างแรม) นอกนั้นไม่ห้าม การสู่ขวัญมักทำในเวลากลางวัน แต่ตอนเย็นหรือกลางคืนก็เห็นมีการทำอยู่ จึงไม่สำคัญเรื่อง กลางวันกลางคืน แต่ให้เริ่มเวลาเป็นมงคลเท่านั้นก็พอ เวลาเป็นมงคลนั้นให้ดูในหมวดว่าด้วย ฤกษ์งามยามดี แล้วให้ถือปฏิบัติตามนั้นอย่างเคร่งครัด
การสูตรขัวญ สมัยโบราณผู้ที่จะสูตรขวัญต้องมีหนังสือสูตรขวัญที่เป็นหนังสือใบลาน จารด้วยตัวธรรมหรือตัวอักษรไทยน้อยไปด้วย เวลาจะสูตรก็กางหนังสือออกเหมือนกับพระเทศน์ สมัยนี้หมอสูตรขวัญอาจจะไม่มีหนังสือใบลานแล้ว อาจเป็นการจดบันทึกลงในสมุดกระดาษธรรมดา หรือบางคนก็ว่าด้วยปากเปล่าอย่างชำนาญ
บุพกิจที่ควรทำก่อนสู่ขวัญ
ก่อนที่จะทำการสู่ขวัญนั้น ให้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1.        เชิญผู้รับการสู่ขวัญ จุดธูปเทียนบูชา
2.        กราบพระ ขอโอกาสก่อนค่อยสูตร (ถ้าพระอยู่ที่นั้น)
3.        ขึงด้ายมงคลระหว่างพาขวัญกับผู้รับการสู่ขวัญและ ญาติ ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใช้ ให้จับพาขวัญ และจับเสื้อหรืออะไรต่อ ๆ กันไป โดยให้เริ่มจับตอนสูตรขวัญ ตอนอื่นนอกนั้นให้นั่งประณม มือ การจับพาขวัญให้เอามือขวาจับ
4.        อัญเชิญเทวดาหรือชุมนุมเทวดา ด้วย คาถา เทวดาในศาสนาพุทธมี ๓ จำพวก คือ สมมติเทวดา ได้แก่ พระราชามหากษัตริย์และพระราชินี อุปัตติเทวดา ได้แก่เทวดาจำพวกรุกขเทวดา ภุมเทวดา บรรพตเทวดา อากาสัฏฐเทวดา วิสุทธิเทวดา ได้แก่พระอรหันต์ เทวดา ๓ เหล่าดังกล่าวมา ท่านเป็นผู้มีบุญบารมีมาก ก่อนจะทำพิธีสู่ขวัญเราเชิญท่านเหล่านั้นมา เพื่อคุ้มครองป้องปก และขอให้ประสิทธิ์ประสาทความร่มเย็นเป็นสุข และความเป็นศิริมงคลแก่งาน
5.        เริ่มสูตรขวัญ บอกให้ลูกหลานทุกคนนั่งประณมมือไว้ก่อน จนถึงคำว่า ศรี ศรี... จึงให้จับ พาขวัญ
วิดฟาย (พรมน้ำมนต์โดยพ่อพราหมณ์)



พื้นที่โฆสณา

โรงแรมในโตเกียว ใกล้ตลาดปลาสึกิจิ สถานที่ตั้ง โรงแรมแห่งนี้ตั้งอยู่ในย่านกินซ่า ของโตเกียว • สวน Hamarikyu (0.4 กม.) • ตลาดปลาสึกิจิ (0.8 กม.) • โตเกียวทาวเวอร์ (1.3 กม.) • พระราชวังหลวงโตเกียว (2.3 กม.) • โรงละครคาบุกิซะ (1.1 กม.) สิ่งอำนวยความสะดวกในโรงแรม นอกจากจะมีอาหารเช้าแบบบุฟเฟต์ร้อนเย็นให้บริการฟรีแล้ว โรงแรมวิลลา ฟอนแทน ชิโอโดเมะ ยังมีศูนย์ธุรกิจ 24 ชั่วโมง อินเทอร์เน็ตแบบสายความเร็วสูงฟรี และบริการซักรีด/ซักแห้ง สิ่งอำนวยความสะดวกในห้องพัก ภายในห้องพักทุกห้องมีเตียงพร้อมที่นอน Pillowtop Wi-Fi ฟรี และอินเทอร์เน็ตใช้สายความเร็วสูงฟรี สิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ได้แก่ ตู้เย็น และเครื่องปรับอากาศ

http://www.thaifly.com/โรงแรม ญี่ปุ่น-Hotel Villa Fontaine SHIODOME Tokyo?tracking=582a655c393fa

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

เพจ Jiraporn Tongkampra

เพจ Jiraporn Tongkampra
แบ่งปันสื่อ ไอเดียสอนลูก ใบงาน ไฟล์แบบฝึกหัด เพื่อการเรียนรู้ของลูกน้อย ของเล่นเสริมพัฒนาการ

บ้านนารายณ์ซับสกรีน

บ้านนารายณ์ซับสกรีน
รับออกแบบยันต์ต่างๆ ปั้มลงผ้ายันต์และเสื้อยันต์ รวมทั้งเสื้อใส่เล่น ในราคาถูก

ช่องยูทูปครูน้อย

ช่องยูทูปครูน้อย
ติดตามคลิบวีดีโอที่แบ่งปันวิทยาทานและธรรมทานได้อีกช่องทาง