วิชชาเข้าฌานแบบพิสดาร (สมาธิเบื้องต้นพื้นฐานอภิญญา ตอนที่๑)
การเข้าสมาธิฌานที่ถูกต้อง ทำกายให้ว่างเปล่า ทำใจปล่อยวางสบายๆ ไม่คิดถึงสิ่งที่เป็นอดีตล่วงไปแล้ว และไม่คิดถึงผลของสมาธิที่ยังมาไม่ถึง ในอนาคต จะทำให้จิตฟุ้งซ่านไม่สงบ กำหนดจิตให้มีสมาธิอยู่ปัจจุบัน
ใช้สติดูจิตตัวเองตลอดเวลา ไม่ให้ฟุ้งซ่าน
ภาวนาว่า พุทโธ ยุบหนอ พองหนอ สำมาอาระหัง จะภาวนาแบบใหนก็ได้ให้จิตสงบ
การทำสมาธิไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ในอารมณ์แห่งฌานทั้งปวงคือยึดปิติ หรือสุขมากจนเกินไป ไม่รู้จักปล่อยวาง เป็นอารมณ์แห่งอุเบกขาญาณเพราะจิตได้ยึดติด ปิติ สุข เสียแล้ว สมาธิก็จะไม่ก้าวหน้าพัฒนาเสียได้
การทำสมาธิให้จิตนิ่งและแน่วแน่ ทำสมาธิแบบสบายๆ ปล่อยวางจิต ไม่ยึดติดในเรื่องอดีตอนาคต ดำรงสติอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งไม่คิดถึงว่าเราจะได้ฌาณ ๑ ๒ ๓ ๔ จะทำให้จิตฟุ้งซ้าน เพราะอยากได้ฌาณมากจนเกินไป ทำใจให้สงบ ไม่สนใจว่าตนเองจะได้ฌานอะไร ไม่ยึดติดในฌานและอารมณ์แห่งฌาน คือ ฌาน ๑ ๒ ๓ ๔ ไม่สนใจว่าตนจะได้ฌานอะไร
เข้านิ่งๆ สงบ เย็นๆ ในอารมณ์สมาธิ นิ่ง สงบ เย็น สว่าง ( เป็นอุเบกขาสมาธิ)
ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของฌาน
ฌานระหว่างปิติและสุข จิตกำลังเปลียนจากปิติเป็นสุข ฌาน๒ เป็นฌาน๓ (อันตรายที่ต้องระวัง เพราะเป็นจุดเปลียนฌาน) เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ของอำนาจสมาธิฌานสมาธิ
ผู้เขียนจึงบอกว่า ช่วงหัวเลียวหัวต่อฌานเป็นจุดอันตราย เพราะจิตไปยึดในปิติ อานุภาพของปิติของสมาธิจิต บางคนอยู่ในปิติสมาธิ นั่งยิ้มในอารมณ์ฌานได้ทั้งวัน บางคนปิติแล้วเกิดน้ำหูน้ำตาไหล จึงบอกว่าปิติในณานนั้นดีอยู่ แต่ถ้าปิติมากเกินไปสติก็หลุดได้ เพราะสติไม่ยอมตามดูจิตปิติจึงออกมามากเกินไป เหนือการควบคุม สติจึงหลุดได้
ด้วยเหตุนี้ การทำสมาธิ ไม่ควรยึดติดอยู่กับอดีต และไม่ควรนึกถึงอนาคตที่ยังมาไม่ถึงทำให้ขาดสติ ใจฟุ้งซ่านไม่เป็นสมาธิ การติดปิติและสุขในสมาธินั้น แก้ได้ด้วยการกำหนดสติแล้วปล่อยวาง ใจก็สงบ ไม่ยึดมั่นในอารมณ์ใดๆ
การทำสมาธิท่านต้องนิ่ง จิตก็สงบเป็นสมาธิ สติก็จะอยู่กับตัวตลอดเวลา ดังนี้
การฝึกสมาธิบางครั้ง ถึงมักจะมีครูบาอาจารย์ คอยควบคุมดูแลเรื่องอารมณ์กรรมฐาน แต่ถ้าไม่มีหรือเก่งกล้า สามารถฝึกคนเดียว ก็ต้องรู้จักดูแลตนเอง เรียกว่ารักตัวเองต้องดูแลตัวเอง รักจะฝึกสมาธิต้องใช้สติดูจิต
วิธีการเรียกสติกลับคืนมาเวลาสติหลุด
ส่วนมากมักทำยากเพราะปล่อยให้ใจเป็นใหญ่ สติจึงมักหลุด แต่ก็ไม่ยากเกินความสามารถที่จะเรียกสติกลับคืนมา
๑ พยายามฝึกเดินจงกรมบ่อยๆ การเดินจงกรมเป็นการฝึกสติ
๒ กำหนดสมาธิมหาสติปัฏฐานตลอดเวลา หรือถ้าทำยากเกินไป ให้กำหนดสติดูจิตตลอดเวลาง่ายๆ
๓ การที่สติหลุด คือธาตุไฟกำเริบ อาบน้ำราดน้ำก็หาย เรียกสติกลับ ลดอุณภูมิธาตุไฟลง
เรียบเรียงคำสอนของพระพุทธเจ้าโดย
ธรรมะที่ส่องสว่างดั่งแสงตะวัน (นามปากกา )
ครูน้อย นารายณ์ พลิกแผ่นดิน ( เป็นผู้นำมาเผยแพร่ต่อแก่ผู้ใคร่เรียนได้อ่าน หากความผิดอันเกิด-ขึ้น ด้วย กาย วาจา ใจ ขออดโทษแก่ครูผู้รจนาตำรานี้ขึ้นมาด้วยเทอญ...สาธุๆๆ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น