เผยแพร่องค์ความรู้เกียวแก่เลขยันต์อักขระเป็นวิทยาทาน และให้เช่าบูชาเครื่องราง

ครูน้อย นารายณ์ พลิกแผ่นดิน. ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2559

จิต



จิตเมื่อเจริญสติมากเท่าไหร่ก็จะทำให้รู้เห็นความจริงได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เมื่อปัญญารู้เห็นความจริงย่อมทำให้ค่อยๆคลายความยึดถือออกไปทีละน้อย ความสุขสงบสำหรับผู้เจริญสติเป็นแค่ที่พัก แต่ไม่ใช่ที่อยู่ ยิ่งเจริญสติได้สมบูรณ์มากเท่าไหร่ ก็จะทำให้รู้เห็นทุกข์ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพราะแม้สุขที่ตนเองเสพคุ้นอยู่ก็เป็นทุกข์อย่างละเอียดที่ไม่น่ายึดถือ 
 ในครั้งหนึ่งเคยสอบถามพระอ.ชู ว่า "อาจารย์ครับ ทำไมผมยิ่งปฏิบัติยิ่งเจริญสติ ก็ยิ่งทำให้เห็นแต่ทุกข์เต็มไปหมด มองหาสุขที่แท้ไม่เจอเลย แม้สุขเกิดจากสมาธิก็แค่ชั่วยาม ประเดี๋ยวก็กลับมาทุกข์เหมือนเดิม ผมนึกว่ายิ่งเราปฏิบัติยิ่งจะทำให้เรามีแต่ความสุขสงบ"
พระอาจารย์ชูท่านจึงสอนว่า " ในอริยสัจสีพระพุทธเจ้าทรงยกเรื่องทุกข์ขึ้นมาสอนก่อน นั้นก็เพื่อให้เรารู้เห็นทุกข์ก่อน เพราะความเป็นจริงเราต่างอยู่กับทุกข์แต่ไม่เห็นและรู้จัก แม้ในการสอนของครูหลายๆท่าน จะสอนให้เรานั่งนานๆไม่ให้เปลี่ยนอริยาบท คนพอนั่งนานๆทุกข์ทางกายมันก็เกิด แต่พอมันเกิดเราก็ไม่ยอมเห็นและยอมรับในทุกข์ พอปวดขาเราก็ขยับทุกข์มันก็ดับ แต่ถ้าคนที่มีปัญญาจะเข้าใจทันทีว่า ออชีวิตเรามันมีแต่ทุกข์จะนั่งนานก็ไม่ได้ ถึงจะทนได้ขนาดใหนก็หนีทุกข์ไม่ได้ ทุกข์ที่เกิดจากร่างกายอย่างหนึ่ง ทุกข์เกิดจากโรคภัยอย่างหนึ่ง ทุกข์เกิดจากการตรากตรำอย่างหนึ่ง ทุกข์เกิดจากอากาสแปรปรวนอย่างหนึ่ง จึงเห็นได้ว่าทุกข์มีอยู่จริงกับเรา เมื่อเราเห็นแล้วเรายอมรับใหมว่าชีวิตการเกิดเป็นมนุษย์เต็มไปด้วยทุกข์ ทุกข์กายก็มากมายซ้ำยังมีเรื่องของกิเลสที่ทำให้ทุกข์ใจอีก สาระพัด ฉนั้นที่เราปฏิบัติธรรมก็เพื่อมากำหนดรู้ทุกข์ที่เกิดขึ้น ว่ามีอยู่จริง ยิ่งเราเห็นมากเท่าไหร่และยอมรับได้มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งมองเห็นทุกข์ได้ชัดเจนยิ้งขึ้น แม้ความสุขสงบที่เกิดจากสมาธิก็เป็นทุกข์อย่างละเอียด ที่ว่าทุกข์เพราะมันมีสภาพทนอยู่หรือตั่งอยู่อย่างนั้นไม่ได้ มันเกิดขึ้นตั่งอยู่แล้วย่อมดับไปเป็นธรามดา และเมื่อสติปัญญารู้เห็นทุกข์ได้มากและเข้าใจความจริงก็จะมองเห็นซึ่งเหตุที่เป็นตัวทำให้ทุกข์เกิดนั้นคือตัญหาสามประการ กามตัญหา ภาวะตัญหา วิภวตัญหา ทั้งสามอย่างนี้เป็นเหตุภายในจิตใจเรา ที่เรานั้งสมาธิจนได้ความสงบนั้นเป็นภาวะตัญหา ที่จริงเราก็อาศัยมันในการทำดีนั้นแหละ แต่ถ้าไม่เท่าทันด้วยสติปัญญา มีความติดอกติดใจในรสสุขแห่งสมาธิ เกิดความยึดมั่นด้วยโมหะ อย่างนี้ทุกข์ก็เกิด ฉนั้นจะทุกข์หรือเหตุให้เกิดทุกข์ จึงเป็นสิ่งที่เราต้องมาฝึกกำหนดรู้ เพื่อให้เข้าใจความจริงความเป็นจริงในตน เราก็จะใช้ทุกข์และเหตุแห่งทุกข์นี้แหละเป็นเครื่องกำหนดพิจจารนาให้เห็นจริงและข้ามมันได้ การกำหนดรู้ก็คือมรรค ความรู้ว่าพ้นได้นั้นคือนิโรจน์ความพ้นทุกข์ จึงสรุปได้ว่าการปฏิบัติธรรม ไม่ใช่การหาความสุข แต่เป็นการเข้ามารู้เห็นความจริง ตามความเป็นจริง เพื่อจะได้พ้นจากสิ่งเหล่านี้ จะเป็นสุขหรือทุกข์ก็เป็นเครื่องเจริญสติเท่านั้น ใครปฏิบัติธรรมแล้วว่าสุขจริงหนอ คนนั้นปฏิบัติผิดทาง ถ้าไม่ถึงโสดาบันเป็นเบื่องต่ำก็จะยังไม่เจอสุขที่แท้จริงได้เลย ที่ท่านปฏิบัติแล้วเห็นแต่ทุกข์นั้นแหละถูกทางแล้ว ต่อไปก็ฝึกเอาว่าทุกข์แบบใหนควรละทิ้ง ทุกข์แบบใหนควรวาง ทุกข์แบบใหนควรแก้ไข ทุกข์แบบใหนยังต้องอาศัยกำหนดพิจนารนาเป็นเครื่องข้าม "
ที่จริงคำสอนพระอาจารย์ปราณีตมากเกินจะนำมาขยายให้เข้าใจได้หมดทีเดียว ผมก็นำเสนอตามที่พอมีปัญญาเข้าใจและนำเสนอได้ แต่ก็หวังว่าจะเป็นประกายทำให้บางคนบางท่านมองเห็นทางปฏิบัติได้ชัดเจนขึ้น สาธุๆๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

เพจ Jiraporn Tongkampra

เพจ Jiraporn Tongkampra
แบ่งปันสื่อ ไอเดียสอนลูก ใบงาน ไฟล์แบบฝึกหัด เพื่อการเรียนรู้ของลูกน้อย ของเล่นเสริมพัฒนาการ

บ้านนารายณ์ซับสกรีน

บ้านนารายณ์ซับสกรีน
รับออกแบบยันต์ต่างๆ ปั้มลงผ้ายันต์และเสื้อยันต์ รวมทั้งเสื้อใส่เล่น ในราคาถูก

ช่องยูทูปครูน้อย

ช่องยูทูปครูน้อย
ติดตามคลิบวีดีโอที่แบ่งปันวิทยาทานและธรรมทานได้อีกช่องทาง