เผยแพร่องค์ความรู้เกียวแก่เลขยันต์อักขระเป็นวิทยาทาน และให้เช่าบูชาเครื่องราง

ครูน้อย นารายณ์ พลิกแผ่นดิน. ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

" อเสวนา จ พาลานํ "


" อเสวนา  จ  พาลานํ "
ไม่คบคนพาล  พึงคบบัณฑิต 
  ลักษณะคนพาล 
           ส่วนลักษณะคนพาล  พึงทราบด้วยอำนาจทุจริตมีความคิด
เรื่องที่คิดชั่วเป็นต้น.  จริงอยู่  คนพาล  แม้เมื่อคิด  ย่อมคิดแต่เรื่อง
ที่คิดชั่ว  ด้วยอำนาจอภิชฌา  พยาบาล  และมิจฉาทิฏฐิ  ถ่ายเดียว,
แม้เมื่อพูด  ก็พูดจำเพาะแต่คำที่พูดชั่ว  ต่างโดยวจีทุจริตมีมุสวาท
เป็นต้น,  แม้เมื่อทำ  ก็ทำจำเพาะแต่กรรมที่ทำชั่ว  ด้วยสามารถกายทุจริต
มีปาณาติบาตเป็นต้น.   ด้วยเหตุนั้น  ทุจริตทั้งหลายมีความคิดเรื่องที่
คิดชั่วเป็นต้นของเขา  ท่านจึงเรียกว่า  พาลลักษณะ  เพราะคนพาลเป็น
เหตุอันบุคคลกำหนด  คือรู้กันได้,  เรียกว่าพาลนิมิต  เพราะเป็นเหตุ
แห่งการหมายรู้คนพาล,  และเรียกว่าพาลาปทาน  เพราะคนพาลประพฤติ
ไม่ขาด.  ด้วยเหตุนั้น  ในพาลบัณฑิตสูตร*  ในอุปริปัณณาสก์
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า  "ภิกษุทั้งหลาย  พาลลักษณะ  พาลนิมิต
พาลาปทานของคนพาล  ๓  ประการเหล่านี้.  ๓  ประการอะไรบ้าง ?
ภิกษุทั้งหลาย  คนพาลในโลกนี้  ย่อมเป็นผู้คิดแต่เรื่องที่คิดชั่ว  พูดแต่
คำที่พูดชั่ว  ทำแต่กรรมที่ทำชั่ว."
 
 ลักษณะบัณฑิต
 สัตว์ผู้ประกอบด้วยกุศลกรรมบถ  ๑๐  มีเว้นจากฆ่าสัตว์
เป็นต้นเหล่าใดเหล่าหนึ่ง  ชื่อว่า  บัณฑิต.  อีกประการหนึ่ง  พระ
พุทธะ  พระปัจเจกพุทธะ  พระมหาสาวก  ๘๐  และพระสาวกของพระ
ตถาคตเหล่าอื่น  ครูสุเนตต์  และอกิตติดาบสเป็นต้น  ในอดีตกาลพึงทราบว่า 
 "บัณฑิต."  ท่านเหล่านั้นแม้ทั้งหมด  เรียกว่าบัณฑิต   ส่วนลักษณะบัณฑิต 
 พึงทราบด้วยสามารถแห่งสุจริตมีความ
คิดเรื่องที่คิดดีเป็นต้น  ที่ตรัสไว้ในพาลบัณฑิตสูตร๔อย่างนี้ว่า  "ภิกษุ
ทั้งหลาย  บัณฑิตลักษณะ  บัณฑิตนิมิต  บัณฑิตาปทาน  ของ
บัณฑิต ๓  ประการเหล่านี้.  ๓  ประการอะไรบ้าง ?  ภิกษุทั้งหลาย
บัณฑิตในโลกนี้  ย่อมเป็นผู้คิดแต่เรื่องที่คิดดี  พูดแต่คำพูดที่ดี  และ
ทำแต่กรรมที่ทำดี."  ก็คำว่า  สุจินฺติตจินฺตี  เป็นต้น
 
  ในคนพาลและบัณฑิตทั้ง ๒  พวกนั้น  พวกบัณฑิตเท่านั้น
ควรเสพ,  พวกคนพาล  หาควรเสพไม่;  เพราะพวกคนพาลเป็นเช่น
 กับปลาเน่า,  ผู้เสพคนพาลนั้น  ก็เช่นกับใบไม้ห่อปลาเน่า  ถึงความ 
เป็นผู้อันวิญญูชนทั้งหลายควรทิ้งและเกลียดชัง.  (ฝ่าย)  บัณฑิต  เป็น
เช่นกับของหอมมีกฤษณาและมาลาเป็นต้น  ถึงความเป็นผู้ควร
กับใบไม้ที่พันของหอมมีกฤษณาและมาลาเป็นต้น  ถึงความเป็นผู้ควร
สรรเสริญและฟูใจของวิญญูชนทั้งหลาย.  
           ก็ผู้ใดคบคนใด,  ผู้นั้นก็มีคนนั้นเป็นคติเทียว. 
   [เรื่องม้าปัณฑวะ]
             ในอดีตกาล  ได้มีพระราชา  (พระองค์หนึ่ง)  ในกรุง 
พาราณสี  ทรงพระนามว่า  สามะ  พระโพธิสัตว์เป็นอำมาตย์ผู้อนุศาสก์
อรรถธรรมของท้าวเธอ.  และท้าวเธอมีม้ามงคลอยู่  (ตัวหนึ่ง)  ชื่อ
ปัณฑวะ.  คนเลี้ยงม้าของพระองค์  ชื่อนายคิริทัต  เป็นคนขาเขยก.
ม้าเห็นเขาจับบังเหียนเดินนำหน้า  สำคัญว่า  "เจ้านี่  ให้เราศึกษา"
จึงสำเหนียกตามอาการของเขา  ได้เป็นม้าขาเขยกไป.   พระราชาว่า
"พวกข้าพระองค์ไม่พบโรคของม้านั้น."  พระราชาทรงส่งพระโพธิ-
สัตว์ไป  ด้วยรับสั่งว่า  "ท่านจงไป  (ดูให้)  รู้เหตุในเรื่องนี้."  พระ
โพธิสัตว์นั้นไปแล้ว  ทราบว่าม้านั้นเดินกะเผลก  เพราะเกี่ยวข้อง๑กับ
คนเลี้ยงม้าขาเขยก  จึงกราบทูลว่า  "ขอเดชะ  เหตุที่เป็นเช่นนี้
เพราะโทษที่เกี่ยวข้องกัน"  ดังนี้แล้ว  กราบทูลว่า  "ม้านั้น  ได้คน
เลี้ยงที่ดีแล้ว  จักดีเหมือนอย่างเดิม."  พระราชารับสั่งให้ทำอย่าง
นั้น.  ม้าได้ตั้งอยู่ในปกติภาพแล้ว.
           เรื่องม้าปัณฑวะ   ในอรรถกถาแห่งคิริทัตตชาดก๒ในทุกนิบาต  จบ.
  "การพบพระอริยเจ้าทั้งหลาย  เป็นความดี
              การอยู่ร่วม   เป็นสุข  ทุกเมื่อ, บุคคลพึงมีความ
              สุข  เป็นนิตย์ได้แท้จริง  ก็เพราะไม่พบคนพาล
              ทั้งหลาย."
   [เรื่องวิพภันติกภิกษุ]
           ดังได้สดับมา  ภิกษุนั้นเป็นสัทธิวิหาริกของพระมหากัสสปเถระ
เป็นผู้ได้จตุตถฌาน  เห็นรูปารมณ์อันเป็นข้าศึก  ในเรือนแห่งลุงของ
ตนแล้ว  ก็มีจิตผูกพันในอารมณ์นั้น  สึกแล้ว  ถูกไล่จากเรือน
เพราะเป็นคนเกียจคร้าน  เชื่อคำของพวกปาปมิตร  เที่ยวเลี้ยงชีวิต
อยู่ด้วยโจรกรรม.  วันหนึ่ง  เขาถูกพวกเจ้าพนักงานจับได้  มัดแขน 
 ไพล่หลังไว้มั่น  แล้วจึงเอาหวายเฆี่ยนคราวละ ๔ๆ  นำไปสู่ตะแลง- 
แกงทางประตูด้านทักษิณ  แห่งกรุงราชคฤห์.  วันนั้น  พระมหา-
กัสสปเข้าไปสู้พระนครเพื่อบิณฑบาต  เห็นเขาแล้ว  ขอให้พวก  
เจ้าพนักงานคลายเชือกมัดให้หย่อน   แล้วกล่าวว่า  "เจ้าจงคำเถระแล้ว
กัมมัฏฐาน  ที่เจ้าอบรมไว้ในกาลก่อนอีก."  เขารับคำเถระแล้ว 
ยังจตุตถฌานให้บังเกิดอีก  ถูกพวกเจ้าพนักงานเหล่านั้นนำไปสู่ตะเลง 
แกงแล้ว  ให้นอนหงายบนหลาวก็ดี  ถูกขู่ด้วยอาวุธทั้งหลายก็ดี  ก็
ไม่กลัว.  พวกเจ้าพนักงานเห็นเขาไม่กลัว  จึงทูลแด่พระเจ้าพิมพิสาร.
พระราชารับสั่งว่า  "พวกท่านจงปล่อยมันไป"  แล้วเสด็จไปสู่พระ
เวฬุวัน  ทูลแด่พระศาสดา.  พระศาสดาประทับนั่งอยู่ในเวฬุวัน
ทรงแผ่พระรัศมีไปแสดงธรรมแก่เขา.  เขาได้ฟังเทศนา  นั่งอยู่บน
ปลายหลาวนั่นแล  พิจารณาสังขารยกขึ้นไตรลักษณ์  ได้เป็นพระ
โสดาบันแล้ว  ไปสู่สำนักพระศาสดาทางเวหาส  บวชแล้วบรรลุพระ
อรหัต  ในท่านกลางบริษัท  พร้อมทั้งพระราชานั่นเอง  ดังนี้แล.
       เรื่องวิพภันติกภิกษุ  ในตัณหาวรรคพระธรรมบท*  จบ.
ครูน้อย นารายณ์พลิกแผ่นดิน
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

เพจ Jiraporn Tongkampra

เพจ Jiraporn Tongkampra
แบ่งปันสื่อ ไอเดียสอนลูก ใบงาน ไฟล์แบบฝึกหัด เพื่อการเรียนรู้ของลูกน้อย ของเล่นเสริมพัฒนาการ

บ้านนารายณ์ซับสกรีน

บ้านนารายณ์ซับสกรีน
รับออกแบบยันต์ต่างๆ ปั้มลงผ้ายันต์และเสื้อยันต์ รวมทั้งเสื้อใส่เล่น ในราคาถูก

ช่องยูทูปครูน้อย

ช่องยูทูปครูน้อย
ติดตามคลิบวีดีโอที่แบ่งปันวิทยาทานและธรรมทานได้อีกช่องทาง