สำนัก ครูน้อย นารายณ์ พลิกแผ่นดิน

เผยแพร่องค์ความรู้เกียวแก่เลขยันต์อักขระเป็นวิทยาทาน และให้เช่าบูชาเครื่องราง

ครูน้อย นารายณ์ พลิกแผ่นดิน. ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2562

มงคลที่ ๒ การคบบัณฑิตเป็นมงคล


" ควรคบหา บัณฑิต  เป็นมิตรไว้
จะช่วยให้  พ้นทุกข์  พบสุขสันต์
ความคิดดี เลิศล้ำ ยิ่งสำคัญ
ควรคบกัน อย่าไข้เขว  ทุกเวลา"

https://www.facebook.com/505023493635954/videos/499255024153908/

วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

อง์แห่งสมาธิ วิตก วิจาร คืออะไร?


วิตก คือ ความตริตรึกในสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ โดยมีจิตดำริถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ ระลึกถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ และมีใจฝังลงไปในสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ(จิต) จิตที่เข้าไปตั้งอาศัยในอารมณ์นั้น ธรรมชาตินั้นย่อมรู้แจ้งในอารมณ์ใดๆ  มีลักษณะอาการที่เกิดกระบวนกระใคร่ครวญในอารมณ์ว่าเหมาะสมดีแล้วจึงยกขึ้นสู่ใจ เรียกว่า วิตก

วิจาร ความใคร่ครวญถึงอารมณ์นั้นอันเป็นสิ่งที่จิตเข้าไปรู้แจ้ง มีลักษณะกำหนดพิจจารณาเห็นแจ้งชัดซึ่งวิตกอยู่ว่า รูปพรรณสัณฐานแห่งการปรุงแต่งของวิตกนั้นว่า ความมีอยู่ เหตุให้เกิดขึ้น ความตั้งอยู่ไม่ได้ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกซึ่งวิตกนั้น นี้เรียกว่า วิจาร

ในปฐมฌาน เพราะสงัดจากกาม อันไม่มีอกุศลธรรมใด
ย่อมละราคะด้วยปฐมฌาน อันมีวิตก วิจาร ปิติ สุข อันเกิดแต่วิเวกอยู่
วิตกและวิจารที่พึงเกิดขึ้น โดยพระพุทธองค์ให้พิจารณาใคร่ครวญธรรม
โดยความเป็นธาตุ โดยความเป็นอายตนะ และโดยความเป็นปฏิจจสมุปบาท
เป็นอารมณ์แห่งจิตนั้น เมื่อพิจารณาใคร่ครวญ
เป็นผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ เห็นอยู่อย่างนี้แล้ว
ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่ผู้นั้น
ปิติย่อมเกิดแก่ผู้ปราโมทย์แล้ว
กายของผู้มีใจปิติแล้วย่อมรำงับ
ผู้มีกายสงบรำงับแล้วย่อมเสวยสุข
จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏแก่ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว
ย่อมรู้เห็นได้ตามความที่เป็นจริงซึ่ง
ทุกข์ (ความแปรปรวนไป ตั้งอยู่ไม่ได้)
เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์
ความดับทุกข์
และข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไปแห่งทุกข์


ดังตัวอย่างว่า
กรณีเจริญอานาปานสติ วิตกและวิจาร ในปฐมฌาน เป็นเรื่องของการตริตรึกและใคร่ครวญ
ในสิ่งที่พระศาสดาทรงตรัสว่า พิจารณาใคร่ครวญธรรม โดยความเป็นธาตุ โดยความเป็นอายตนะ และโดยความเป็นปฏิจจสมุปบาท

หากจะพิจารณาลมหายใจ ก็ให้พิจารณาว่า ลมหายใจ นี้ คือ วาโยธาตุ  ใจที่ระลึกถึงอารมณ์คือ อากาสธาตุ  เสียงที่เปร่งคือ ปฐวีธาตุ

ในปฐมฌาน สมาธิอันเกิดในขั้นนี้ เป็นไปเพื่อ...

๑. การสงัดจากอกุศลธรรม ที่เกิดจาก กาม พยาบาท เบียดเบียน ทางกาย วาจา
๒. การสงัดนิวรณ์ ๕ ทางใจ คือ
  • ความพอใจในกาม 
  • ใจพยาบาท
  • ความที่จิตหดหู่
  • ความฟุ้งซ่าน รำคาญ
  • ความสงสัยเนื่องด้วยไม่รู้
๓. สงัดจากวาจา
๔. สงัดเสียงที่ไม่เป็นเสี้ยนหนามในฌาน

เมื่อธรรมทั้ง ๔ ข้างต้น ส่งไปถึงแล้ว อาการของจิตจะมีได้ดังนี้

๑. ย่อมเกิดปราโมทย์
๒. ย่อมเกิดปิติ
๓. ย่อมเกิดกายสงบ
๔. ย่อมเกิดสุข
๕. ย่อมมีจิตตั้งมั่น

ในขณะทำสมาธิ

วิตก ที่นำมาตริตรึกนั้น อาจจะยกหัวข้อธรรมนั้นขึ้นมาสักเรื่องหนึ่ง เช่นการพิจารณาอานาปานสติสมาธิ
วิจารณ์ ที่นำมาใคร่ครวญต่อนั้น คือ
  • ลมหายใจของเรานั้นเป็นกายอันหนึ่งๆในกายทั้งหลาย
  • การทำในใจอย่างดีต่อลมหายใจเข้าและออกนั้นเป็นเวทนาอันหนึ่งๆในเวทนาทั้งหลาย
  • การที่รู้ว่าจิตของเรานั้นเป็นผู้รู้ลมหายใจเข้าและออกนั้น
  • การเห็นการเกิดและดับในภายใน
เป็นต้น...

วิตกและวิจารณ์ดังกล่าว
       เป็นไปเพื่อกุศลธรรม กุศลธรรมเจริญ อกุศลธรรมเสื่อม
       เป็นไปเพื่อสมาธิ
       เป็นไปเพื่อจิตตั้งมั่น
       เป็นไปเพื่อสติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์
       เป็นไปเพื่อโพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์
       อันอาศัยวิเวก วิราคะ นิโรธ น้อมไปเพื่อการสละคืน
       วิชาและวิมุติ จึงเกิดขึ้น ได้ตั้งแต่ในปฐมฌาน

       ใคร่ครวญว่าเมื่อก่อนเรามีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมเช่นไรกับลมหายใจเข้าและ ออก และหลังจากนั้นเรามีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอย่างไรถึงลมหายใจเข้าและออก หากเราวิจารถึงลมหายใจเข้าและออกช่วงแรกไม่สม่ำเสมอ เดี๋ยวยาวเดี๋ยวสั้นไม่เป็นจังหวะ แต่บัดนี้ลมหายใจของเราเป็นจังหวะที่ราบเรียบ สม่ำเสมอ ละเอียดและประณีตเป็นประจักแก่ใจในปัจจุบันธรรม  อย่างนี้

ผู้ใคร่ในการภาวนาควรศึกษาพิจจารนาตามห้วข้อที่กล่าวนี้  เพื่อให้เกิดความกระจ่างในแนวทาง  จะได้ปฏิบัติไปได้ถูกตรง  ไม่ได้คิดเองเห็นเอง  แต่อาศัยซึ่งคุณแห่งพระธรรมเป็นอุปการะในการพิจจารนา  จึงได้ค้นหาและนำหัวข้อแห่งวิตกและวิจารนี้มาให้ท่านได้เรียนรู้กัน.
ครูน้อย นารายณ์พลิกแผ่นดิน.

วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

" อเสวนา จ พาลานํ "


" อเสวนา  จ  พาลานํ "
ไม่คบคนพาล  พึงคบบัณฑิต 
  ลักษณะคนพาล 
           ส่วนลักษณะคนพาล  พึงทราบด้วยอำนาจทุจริตมีความคิด
เรื่องที่คิดชั่วเป็นต้น.  จริงอยู่  คนพาล  แม้เมื่อคิด  ย่อมคิดแต่เรื่อง
ที่คิดชั่ว  ด้วยอำนาจอภิชฌา  พยาบาล  และมิจฉาทิฏฐิ  ถ่ายเดียว,
แม้เมื่อพูด  ก็พูดจำเพาะแต่คำที่พูดชั่ว  ต่างโดยวจีทุจริตมีมุสวาท
เป็นต้น,  แม้เมื่อทำ  ก็ทำจำเพาะแต่กรรมที่ทำชั่ว  ด้วยสามารถกายทุจริต
มีปาณาติบาตเป็นต้น.   ด้วยเหตุนั้น  ทุจริตทั้งหลายมีความคิดเรื่องที่
คิดชั่วเป็นต้นของเขา  ท่านจึงเรียกว่า  พาลลักษณะ  เพราะคนพาลเป็น
เหตุอันบุคคลกำหนด  คือรู้กันได้,  เรียกว่าพาลนิมิต  เพราะเป็นเหตุ
แห่งการหมายรู้คนพาล,  และเรียกว่าพาลาปทาน  เพราะคนพาลประพฤติ
ไม่ขาด.  ด้วยเหตุนั้น  ในพาลบัณฑิตสูตร*  ในอุปริปัณณาสก์
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า  "ภิกษุทั้งหลาย  พาลลักษณะ  พาลนิมิต
พาลาปทานของคนพาล  ๓  ประการเหล่านี้.  ๓  ประการอะไรบ้าง ?
ภิกษุทั้งหลาย  คนพาลในโลกนี้  ย่อมเป็นผู้คิดแต่เรื่องที่คิดชั่ว  พูดแต่
คำที่พูดชั่ว  ทำแต่กรรมที่ทำชั่ว."
 
 ลักษณะบัณฑิต
 สัตว์ผู้ประกอบด้วยกุศลกรรมบถ  ๑๐  มีเว้นจากฆ่าสัตว์
เป็นต้นเหล่าใดเหล่าหนึ่ง  ชื่อว่า  บัณฑิต.  อีกประการหนึ่ง  พระ
พุทธะ  พระปัจเจกพุทธะ  พระมหาสาวก  ๘๐  และพระสาวกของพระ
ตถาคตเหล่าอื่น  ครูสุเนตต์  และอกิตติดาบสเป็นต้น  ในอดีตกาลพึงทราบว่า 
 "บัณฑิต."  ท่านเหล่านั้นแม้ทั้งหมด  เรียกว่าบัณฑิต   ส่วนลักษณะบัณฑิต 
 พึงทราบด้วยสามารถแห่งสุจริตมีความ
คิดเรื่องที่คิดดีเป็นต้น  ที่ตรัสไว้ในพาลบัณฑิตสูตร๔อย่างนี้ว่า  "ภิกษุ
ทั้งหลาย  บัณฑิตลักษณะ  บัณฑิตนิมิต  บัณฑิตาปทาน  ของ
บัณฑิต ๓  ประการเหล่านี้.  ๓  ประการอะไรบ้าง ?  ภิกษุทั้งหลาย
บัณฑิตในโลกนี้  ย่อมเป็นผู้คิดแต่เรื่องที่คิดดี  พูดแต่คำพูดที่ดี  และ
ทำแต่กรรมที่ทำดี."  ก็คำว่า  สุจินฺติตจินฺตี  เป็นต้น
 
  ในคนพาลและบัณฑิตทั้ง ๒  พวกนั้น  พวกบัณฑิตเท่านั้น
ควรเสพ,  พวกคนพาล  หาควรเสพไม่;  เพราะพวกคนพาลเป็นเช่น
 กับปลาเน่า,  ผู้เสพคนพาลนั้น  ก็เช่นกับใบไม้ห่อปลาเน่า  ถึงความ 
เป็นผู้อันวิญญูชนทั้งหลายควรทิ้งและเกลียดชัง.  (ฝ่าย)  บัณฑิต  เป็น
เช่นกับของหอมมีกฤษณาและมาลาเป็นต้น  ถึงความเป็นผู้ควร
กับใบไม้ที่พันของหอมมีกฤษณาและมาลาเป็นต้น  ถึงความเป็นผู้ควร
สรรเสริญและฟูใจของวิญญูชนทั้งหลาย.  
           ก็ผู้ใดคบคนใด,  ผู้นั้นก็มีคนนั้นเป็นคติเทียว. 
   [เรื่องม้าปัณฑวะ]
             ในอดีตกาล  ได้มีพระราชา  (พระองค์หนึ่ง)  ในกรุง 
พาราณสี  ทรงพระนามว่า  สามะ  พระโพธิสัตว์เป็นอำมาตย์ผู้อนุศาสก์
อรรถธรรมของท้าวเธอ.  และท้าวเธอมีม้ามงคลอยู่  (ตัวหนึ่ง)  ชื่อ
ปัณฑวะ.  คนเลี้ยงม้าของพระองค์  ชื่อนายคิริทัต  เป็นคนขาเขยก.
ม้าเห็นเขาจับบังเหียนเดินนำหน้า  สำคัญว่า  "เจ้านี่  ให้เราศึกษา"
จึงสำเหนียกตามอาการของเขา  ได้เป็นม้าขาเขยกไป.   พระราชาว่า
"พวกข้าพระองค์ไม่พบโรคของม้านั้น."  พระราชาทรงส่งพระโพธิ-
สัตว์ไป  ด้วยรับสั่งว่า  "ท่านจงไป  (ดูให้)  รู้เหตุในเรื่องนี้."  พระ
โพธิสัตว์นั้นไปแล้ว  ทราบว่าม้านั้นเดินกะเผลก  เพราะเกี่ยวข้อง๑กับ
คนเลี้ยงม้าขาเขยก  จึงกราบทูลว่า  "ขอเดชะ  เหตุที่เป็นเช่นนี้
เพราะโทษที่เกี่ยวข้องกัน"  ดังนี้แล้ว  กราบทูลว่า  "ม้านั้น  ได้คน
เลี้ยงที่ดีแล้ว  จักดีเหมือนอย่างเดิม."  พระราชารับสั่งให้ทำอย่าง
นั้น.  ม้าได้ตั้งอยู่ในปกติภาพแล้ว.
           เรื่องม้าปัณฑวะ   ในอรรถกถาแห่งคิริทัตตชาดก๒ในทุกนิบาต  จบ.
  "การพบพระอริยเจ้าทั้งหลาย  เป็นความดี
              การอยู่ร่วม   เป็นสุข  ทุกเมื่อ, บุคคลพึงมีความ
              สุข  เป็นนิตย์ได้แท้จริง  ก็เพราะไม่พบคนพาล
              ทั้งหลาย."
   [เรื่องวิพภันติกภิกษุ]
           ดังได้สดับมา  ภิกษุนั้นเป็นสัทธิวิหาริกของพระมหากัสสปเถระ
เป็นผู้ได้จตุตถฌาน  เห็นรูปารมณ์อันเป็นข้าศึก  ในเรือนแห่งลุงของ
ตนแล้ว  ก็มีจิตผูกพันในอารมณ์นั้น  สึกแล้ว  ถูกไล่จากเรือน
เพราะเป็นคนเกียจคร้าน  เชื่อคำของพวกปาปมิตร  เที่ยวเลี้ยงชีวิต
อยู่ด้วยโจรกรรม.  วันหนึ่ง  เขาถูกพวกเจ้าพนักงานจับได้  มัดแขน 
 ไพล่หลังไว้มั่น  แล้วจึงเอาหวายเฆี่ยนคราวละ ๔ๆ  นำไปสู่ตะแลง- 
แกงทางประตูด้านทักษิณ  แห่งกรุงราชคฤห์.  วันนั้น  พระมหา-
กัสสปเข้าไปสู้พระนครเพื่อบิณฑบาต  เห็นเขาแล้ว  ขอให้พวก  
เจ้าพนักงานคลายเชือกมัดให้หย่อน   แล้วกล่าวว่า  "เจ้าจงคำเถระแล้ว
กัมมัฏฐาน  ที่เจ้าอบรมไว้ในกาลก่อนอีก."  เขารับคำเถระแล้ว 
ยังจตุตถฌานให้บังเกิดอีก  ถูกพวกเจ้าพนักงานเหล่านั้นนำไปสู่ตะเลง 
แกงแล้ว  ให้นอนหงายบนหลาวก็ดี  ถูกขู่ด้วยอาวุธทั้งหลายก็ดี  ก็
ไม่กลัว.  พวกเจ้าพนักงานเห็นเขาไม่กลัว  จึงทูลแด่พระเจ้าพิมพิสาร.
พระราชารับสั่งว่า  "พวกท่านจงปล่อยมันไป"  แล้วเสด็จไปสู่พระ
เวฬุวัน  ทูลแด่พระศาสดา.  พระศาสดาประทับนั่งอยู่ในเวฬุวัน
ทรงแผ่พระรัศมีไปแสดงธรรมแก่เขา.  เขาได้ฟังเทศนา  นั่งอยู่บน
ปลายหลาวนั่นแล  พิจารณาสังขารยกขึ้นไตรลักษณ์  ได้เป็นพระ
โสดาบันแล้ว  ไปสู่สำนักพระศาสดาทางเวหาส  บวชแล้วบรรลุพระ
อรหัต  ในท่านกลางบริษัท  พร้อมทั้งพระราชานั่นเอง  ดังนี้แล.
       เรื่องวิพภันติกภิกษุ  ในตัณหาวรรคพระธรรมบท*  จบ.
ครูน้อย นารายณ์พลิกแผ่นดิน
 

ธรรมมีอุปการะมาก ๒ อย่าง


ธรรมมีอุปการะมาก ๒ อย่าง
๑. สติ ความระลึกได้
๒. สัมปชัญญะ ความรู้ตัว
สติ และ สัมปชัญญะ ทั้งสองนี้ ชื่อว่า มีอุปการะมาก เพราะเป็นอุปการธรรมอุดหนุนให้สำเร็จกิจในทางที่เป็นกุศลแต่ฝ่ายเดียว
๑. สติ แปลว่าความระลึก หรือความระลึกได้ หมายความว่า ลักษณะเครื่องกำหนดของสตินั้น ก็คือความระลึกรู้ได้ในทั้ง ๓ กาล กล่าวคือ ระลึกอดีตกาลได้ ระลึกปัจจุบันกาลได้ ระลึกเรื่องอนาคตกาลได้ กิจหรือ หน้าที่ของสตินั้น ก็คือการไม่ลืมเรื่องอดีตระลึกได้ทุกครั้งที่ต้องการ,ไม่เลื่อนลอยเผลอตัวในเรื่องปัจจุบัน ไม่หวาดหวั่นฟุ้งเฟ้อในเรื่องอนาคต ประดุจนายสารถีผู้ไม่ประมาทคอยบังคับรถเรือให้แล่นไปโดยปลอดภัยฉะนั้น
๒. สัมปชัญญะ แปลว่า ความรู้ตัว หมายความว่า ลักษณะของสัมปชัญญะนี้ ได้แก่ความรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันธรรม รู้ชัดโดยถูกต้อง ไม่ใช่หลง ๆ ลืม ๆ หลับ ๆ ตื่น ๆ ฟั่นเฟือนในขณะยืน เดิน นั่งนอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด เป็นต้น รู้สึกตัวดีอยู่ ตื่นตัวดีอยู่ว่ากำลังยืน เดิน นั่ง นอน เป็นต้น สัมปชัญญะจึงเป็นอุปการะให้อยู่กับปัจจุบันธรรม
ท่านกล่าวว่า ที่ชื่อว่ามีอุปการะมากเพราะเป็นเครื่องนำมาซึ่งประโยชน์เกื้อกูลในกิจการทุกอย่าง เปรียบเหมือนมารดาคอยอุปการะบุตรที่เกิดในอุทรของตนไม่ให้เกิดอันตราย ความไม่ประมาทเป็นอุปการะในการบำเพ็ญศีลเป็นต้น หมายความว่า ธรรม ๒ ประการนี้ มีอยู่แก่ผู้หนึ่งผู้ใด ผู้นั้นกระทำกิจการใด ๆ จะบำเพ็ญศีล เจริญสมาธิ เจริญปัญญาก็ตาม จะเล่าเรียนเขียนอ่านก็ตาม ย่อมสำเร็จด้วยดี ไม่ผิดพลาด ปราศจากภยันตรายทุกประการ ในที่ทุกสถาน และในกาลทุกเมื่อ


 กดดูคลิบตรงนี้

วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ผ้าแดงผ้าขาวอุบายธรรมสอนใจคน


ผ้าแดงผ้าขาวอุบายธรรมสอนใจคน
น้อยคนจะเข้าใจความหมายของผ้าแดงกับผ้าขาวในขันครูว่าเป็นอุบายธรรมสอนคนอย่างไร
มันจึงเป็นแค่อุปกรอย่างหนึ่งที่ใส่ในขันครูเท่านั้น ผมมานั่งพิจจารนาก็ให้เห็นความจริงที่คนส่วนหนึ่งทำกันคือ กราบไหว้ครูเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์แต่กลับไม่ได้กราบตรงไปถึงคุณด้วยใจนอบน้อมจริงๆ จะเห็นได้จากประวัติเรื่องราวที่กล่าวยกย่องครูส่วนมากก็จะเอ่ยว่า ท่านใดศักดิ์สิทธิ์อย่างไร เก่งกาจอย่างไรในพระเวทย์ แม้การกล่าวประวัติความเป็นมาของครูสายภิกษุสงฆ์ก็มักจะเอ่ยอ้างถึงคุณวิเศษแห่งฤทธิ์ซึ่งต้องการสื่อถึงความศักดิ์สิทธิ์ การเคารพของคนส่วนหนึ่งจึงเคารพเพราะความศักดิ์สิทธิ์เป็นสำคัญในจิตใจ
คุณธรรมกับความศักดิ์สิทธิ์นั้นมันห่างไกลกันคนละความหมาย เพียงแต่มีอุปการะเป็นเหตุปัจจัยแก่กัน ผู้ที่อบรมตนด้วยคุณธรรมย่อมเป็นเหตุให้เข้าถึงคุณวิเศษ(คุณพิเศษ) ด้วยความพิเศษแห่งคุณนี้เราก็ถือเอาว่าเป็นความศักดิ์สิทธิ์ จึงเคารพหมอบกราบที่ความศักดิ์สิทธิ์ แต่กลับเข้าไม่ถึงคุณธรรมแท้จริงของท่านครูเหล่านั้น
ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกเลยที่คนบางส่วนที่ถือความศักดิ์สิทธิ์ จะได้มองข้ามคุณธรรม จึงมีส่วนน้อยจะเอ่ยอ้างยกย่องครูที่พร่ำสอนตน เพราะครูปัจจุบันที่พร่ำสอนไม่มีความศักดิ์สิทธิ์ในใจ เป็นแค่ผู้ให้ความรู้ในความสำนึกเท่านั้น คนเหล่านี้จะไม่เกรงกลัวคำครู แต่จะเกรงกลัวความศักดิ์สิทธิ์ของครูเก่าก่อน ยิ่งได้ยิ่นว่าท่านขลังก็ยิ่งเคารพยำเกรง แต่กับครูที่พร่ำสอนตนกลับไม่เคารพเชื่อฟัง
ด้วยภูมิปัญญาครูเก่าท่านที่รู้และผ่านเรื่องเหล่านี้มาก่อนจึงผูกปริศนาไว้สอนคน ว่าการเคารพกราบไหว้ก็ควรให้เคารพที่คุณเสมอเหมือนกัน ไม่ว่าครูแก่เก่าก่อนหรือครูปัจจุบัน ผ้าขาวนั้นจึงเปรียบผู้ที่มีเพียงคุณความดีที่บริสุทธิ์ที่เหลือฝากไว้ ผ้าแดงนั้นคือครูผู้ที่ยังมีเลือดเนื้อสีแดงไหลเวียนที่ยังคอยพร่ำสอนศิษย์ให้เจริญในสัพพะวิชชา ผ้าขาวรองรับผ้าแดงที่วางทับซ้อนหมายถึงแรงครู วิญญาณผีครูเทวดาครูคอยหนุนส่ง ผ้าแดงรองกลวยดอกไม้ที่เป็นสิ่งแทนความหมายของรูปนาม ของตัวผู้เล่าเรียน อันหมายความว่าครูผู้สอนสั่งยกยอเราให้มีความเจริญในวิชชานั่นเอง
ซึ่งเราจะเห็นว่า สิ่งที่กล่าวมานี้ล้วนแสดงให้เห็นถึงคุณธรรมอันดีที่ความเป็นครูและศิษย์มีแก่กัน เป็นสายใยแห่งความดีงามที่คนโบราณสอนให้เรารู้จักสำนึกคุณความดีของผู้อุปการะคุณ ไม่ได้มุ่งเน้นให้คนงมงายแต่ในความศักดิ์สิทธิ์ ผมพิจจารนาแล้วเห็นอย่างนั้น เห็นแต่การสรรเสริญความศักดิ์สิทธิ์ สุดท้ายก็ยกความศักดิ์สิทธิ์ว่าเป็นของตัวไป น้อยนักที่จะซาบซึ้งถึงบุญคุณของผู้มีคุณด้วยใจบริสุทธิ์แท้จริง  จิตสำนึกไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ  แต่จะเกิดขึ้นได้เพราะบุคคลนำมาสร้างเหตุ นำมาคิดพิจจารณาถึงความอุปการะที่ได้รับจากครูผู้สั่งสอน  การหมอบกราบในหลักคำสอนทางศาสนาพุทธนั้น  เป็นหลักคารวตา


คารวะ หรือ คารวตา 6 (ความเคารพ, การถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะพึงใส่ใจและปฏิบัติด้วยความเอื้อเฟื้อ หรือโดยความหนักแน่นจริงจัง, การมองเห็นคุณค่าและความสำคัญแล้วปฏิบัติต่อบุคคลหรือสิ่งนั้นโดยถูกต้อง ด้วยความจริงใจ)
       1. สัตถุคารวตา (ความเคารพในพระศาสดา ) ข้อนี้บางแห่งเขียนเป็น พุทธคารวตา (ความเคารพในพระพุทธเจ้า )หมายถึงความเคารพใน  พระมหากรุณาธิคุณ   พระปัญญาธิคุณ  พระบริสุทธิคุณ เป็นอเนกอนันต์
       2. ธัมมคารวตา (ความเคารพในธรรม )  คือการศึกษาปฏิบัติด้วยความเคารพ
เป็นอเนกอนันต์
       3. สังฆคารวตา (ความเคารพในสงฆ์)   พระสงฆ์ เพราะเป็นผู้สูงด้วยคุณธรรม และเป็นผู้นำทางจิตใจ คฤหัสถ์ย่อมบำรุงพระสงฆ์ ผู้มีคุณด้วยหลักห้าประการ ดังนี้
           1) จะทำสิ่งใด ก็ทำด้วยเมตตา
           2) จะพูดสิ่งใด ก็พูดด้วยเมตตา
           3) จะคิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา
           4) ต้อนรับด้วยความเต็มใจ
           5) อุปถัมภ์ด้วยปัจจัย 4
        4. สิกขาคารวตา (ความเคารพในการศึกษา )
       5. อัปปมาทคารวตา (ความเคารพในความไม่ประมาท)
       6. ปฏิสันถารคารวตา (ความเคารพในปฏิสันถารการต้อนรับไปมาหาสู่กัน)

ตามที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นข้อศึกษา  ให้เราทำความเข้าใจเพื่อให้เกิดจิตสำนึก  แล้วลงมือปฏิบัติอย่างถูกต้องตามธรรม  ตามหน้าที่
ผู้ถือไสย์เวทย์หากทำไม่ถูกก็จะยิ่งก่อเกิดโทษเป็นบาปกรรมทำความเสื่อมแก่ตน  ด้วยความที่ยึดถือผิดๆ แล้วกระทำตนผิดจากคุณธรรมอันดีงาม  ความศรัทธานั้นไม่ใช่เรื่องผิด  ที่จะผิดนั้นเพราะศรัทธาที่มีไม่ประกอบด้วยปัญญา  พระพุทธศาสนาเรียกความเห็นผิด ( มิจฉาทิฏฐิ)   แม้เราจะร่ำเรียนพระเวทย์คาถาซึ่งมีจุดเด่นเรื่องความอัศจรรย์อภินิหารย์  แต่จุดมุ่งหมายแท้จริงของครูผู้สอน  ที่มีสัมมาทิฏฐิ ท่านวางกลวางแบบอย่างเหล่านี้เพื่อจะได้เป็นอุบายวิะีชักนำคนเข้าหาพระธรรมที่ถูกต้อง  ไม่ได้มุ่งหวังให้เรางมงายในความศักดิ์สิทธิ์  เพราะแท้แล้วบรมครูทุกๆท่านที่เราเคารพนั้น  ทุกท่านล้วนก่อร่างคุณวิเศษเริ่มมาจาก  คุณธรรมกันทั้งสิ้น  คือประพฤติปฏิบัติตามหลักพระธรรมคำสอนที่ถูกตรง  จนเกิดคุณวิเศษที่เป็นผลพลอยได้นั้นมา  แสดงให้เราเกิดศรัทธา เพื่อจะได้นำพาเราให้เข้าถึงการปฏิบัติอันเป็นความหมดจดอย่างแท้จริง   
ฉนั้น  การเคารพกราบไหว้  ขอให้เราท่านตรึกตรองให้ดีว่าเราเคารพตามแบบอย่างคำสอนใหม  หรือเราเองยังหมอบกราบตามลัทธิ เทวนิยมกันอยู่

ครูน้อย นารายณ์พลิกแผ่นดิน.

วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

เคล็ดวิธีฝึกสัมผัสโลกทิพย์(คำสอนท่าน อ.บุญชู)



เคล็ดวิธีฝึกสัมผัสโลกทิพย์(คำสอนท่าน  อ.บุญชู)

เรื่องของการฝึกสมาธิ ในข้อความนี้ก็จะแนะนำให้ท่านใช้ประโยชน์ในการฝึก ในคุณประโยชน์ของการฝึก ว่าใช้อะไรบ่าง
 ณ. ที่นี้ก็จะให้รู้ถึงการใช้ประโยชน์ในการสัมผัสกับดวงวิญญาณ หรือ โลกทิพย์ ที่เป็นสัมภะเวสี หรือเทพครู หรือทวยเทพต่างๆ เพื่อการติดต่อสื่อสารทางจิตวิญญาณ
ก่อนอื่นก็ต้องทำการฝึกให้ได้กำลังสมาธิเสียก่อน ในการกำหนดองค์นิมิตร ให้เราทำจิตใจให้สงบ สืบลมเข้ายาว  ออกยาว สำรวมจิตให้สงบ  แล้วเข้าสู่อารมณ์ที่ช่องว่าง โดยใช้หลักการหยุดลม ทำใจจดจ่อกำหนดเอาอาการความรู้สึกนิ่งสงบนั้นไว้ ประคองอารมณ์อย่าให้ไปคิดเรื่องภายนอก แล้วตั่งความคิดให้เห็นภาพที่แสดงตรงหน้าเราเป็นจอภาพว่างเปล่า ให้กำหนดฝึกอย่างนี้จนชำนาญ จิตใจเราจะโล่งสบายผ่อนคลาย เมื่อจะกลับสู่ภาวะรูปก็ให้ทำความรู้สึกมาที่ลมหายใจเหมือนเดิม อย่างนี้
เมื่อเราฝึกจนคุ้นเคยกับอารมณ์ว่างได้ เมื่อเราจะใช้กำหนดโลกทิพย์ ก็สามารถตั่งอธิฐานชั่วขณะ แล้วเข้าสู่อารมณ์ว่างนั้น การกำหนดจิตให้เราทำความรู้สึกเปิดรับสิ่งที่ผ่านเข้ามาในรอบรัสมีจิตของเรา เหมือนเราเอากระจกตั่งไว้ อะไรผ่านมาก็มองเห็น ห้ามใช้จิตที่อยากรู้อยากเห็นในการกำหนดหา เพราะถ้าต้องการเห็นจะไม่เห็น  ยิ่งจะทำให้จิตฟุ้งซ่าน วางใจเป็นกลางไม่ยินดียินร้าย เห็นก็ชั่งไม่เห็นก็ช่าง ถ้าเขาต้องการให้เราสำผัสเราจะสัมผัสได้เอง อาจมาในรูปภาพเพียงเเวบเดียว หรือเป็นภาพเงาคนเคลื่อนไหว ถ้าเป็นเทพจะมีแสงเรืองรองรอบตัว ถ้าเป็นสัมพะเวสีจะเป็นเงาดำ บางคนอาจได้กลิ่นด้วย เป็นเทพก็กลิ่นหอม เป็นผีก็กลิ่นสาบเหม็น บางคนก็จะสามารถสื่อภาษาจิตกับเขาได้ แต่ในการสำผัสจะขึ้นอยู่กับกำลังสมาธิที่เราฝึก ถ้ามีมากก็จะชัดเจนบางทีมีน้อยก็ไม่ชัดและเพียงชั่วครู่ ถ้าเรายิ่งอยากรู้เพิ่มก็ยิ่งหาไม่เจอ
ก็ฝากเป็นการบ้านการปฏิบัติให้ทุกท่านได้ฝึกตามเด้อ
  สอนพอบอกได้ก็มาอธิบายให้กันฟังและทำตาม เพื่อจะได้มีกำลังใจในการฝึก และในบางอย่างเราเอาตาเนื้อพิสูจไม่ได้ แต่เราใช้ตาใจพิสูจได้ ของทิพย์บางอย่างเราอาจมองด้วยตาและตัดสินตามที่เห็น แต่ผู้มีญานการกำหนดท่านจะรู้และทราพเอง ไม่มีใครเอาของปลอมมาหรอกท่านได้หรอก ถ้าของทิพจริงจะมีเทพมีครูท่านตามรักษา ถ้าเปรียบก็เหมือนเสาต้นหนึ่งๆ ที่รับคลื่นจากแหล่งกำเนิดพลังงานนั่นเอง
ทีนี้ถ้าท่านฝึกได้ก็ไม่ต้องกลัวว่าใครจะมาหลอกเรา เพราะตาใจมันเห็น ตั่งใจฝึกจิต รักษาศีล ทำสมาธิ ฟังธรรมให้เกิดปัญญา แล้วท่านจะเจริญในวิชชาเอง อย่างลืมด้วย ในเวลาทำดีให้อธิฐานบารมีด้วยว่าเราต้องการอะไร แล้วเราจะได้จะเป็นอย่างที่ต้องการ....สาธุๆๆ
* ผล เกิด จากเหตุ แม้ไม่ต้องการผล ต่อเมื่อสร้างเหตุได้พอ ผลย่อมมีเอง คุณวิเศษต่างๆก็เช่นกัน แม้ไม่อยาก แต่ถ้าทำถูกเหตุจนพอ ผลย่อมปรากฏเอง...!




ครูน้อย นารายณ์ พลิกแผ่นดิน

อาถรรพ์แรงครู


อาถรรพ์แรงครู

เรื่องอาถรรพ์แรงสาปแช่งครูนั้นเป็นสิ่งเล้นลับ  น่าสะพรึงกลัว  ผู้ใดต้องคำสาปแช่งสาบานแล้วไม่ใช่สิ่งจะมาถอดถอนกันได้ง่ายๆ  ยิ่งถ้าถูกต้องเข้าไปแล้ว  มันก็ต้องรับเวลรับกรรมกันไปจนจะสิ้นสุดเลยทีเดียว  อุปมาเหมือนคนปวดอุจจาระ  เมื่อปวดแล้วก็ต้องขับถ่ายออก  ต่อเมื่อได้ขับถ่ายออกเสร็จสิ้นนั้นแหละ  ความทรมานแห่งอาการจึงจะหายไป   กรรมปาบหยาบช้าก็เช่นกันเมื่อมันแสดงผลเมื่อใด  ผู้ทำกรรมก็ต้องรับผลกรรมนั้นจนกว่าจะหมดกำลังแห่งผลบาปกรรมนั้น   เราท่านก็ควรตระหนักให้จงดีต่อเมื่อจะทำกรรมอันใดลงไป  จงใช้สติปัญญาใคร่ครวญให้รอบคอบถึงผลแห่งกรรมที่จะตามมา  ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่วแน่นอน  จะให้ผลช้าหรือเร็วเท่านั้น   เปรียบเหมือนต้นไม้ที่ออกดอกผลได้ช้าเร็วต่างกัน  บางชนิดออกดอกผลได้เร็ว  บางชนิดใช้เวลานับแรมปีหรือหลายปีกว่าจะเติบโตให้ผล  กรรมดีหรือชั่วที่เรากระทำลงไปนั้นก็อุปมาได้อย่างนั้น  คนทำชั่วบางทีที่ยังไม่ได้รับผลกรรมชั่ว  แต่กลับเสวยความสุขอยู่  นั้นเป็นเพราะกรรมดีบุญเก่ายังให้ผลไม่เสร็จ  ต่อเมื่อหมดบุญเก่า  บาปกรรมก็จะมีช่องทางให้ผลในทันที่
 เรื่องของอาถรรพ์   แรงสาปแช่งครูก็เช่นกัน  แรงสาปแช่งเกิดจากคนที่เล่าเรียนตำราพระเวทย์  เป็นคนอักตัญญูต่อครูบาอาจารย์ผู้สอนสั่งสรรพวิชชาให้  ทำความเสื่อมเสีย  ทำความย่ำยีตำราครู  เหยียบย่ำดูถูก  ลบหลู่ประมาท   ไม่สำนึกในคุณผู้อุปการะตน  บ่างก็ถือข้อห้ามไม่ได้นำวิชชาพระเวทย์ไปสร้างบาปกรรมแก่คนอื่นเสื่อมเสียมาถึงครู  บ่างก็เหยียบย่ำไม่เชื่อฟังคำตักเตือนบอกกล่าวสั่งสอนของครู  โกรธเกลียดลบหลูดูถูกเหยียบย่ำน้ำใจ   ผู้ที่สั่งสอนความรู้ให้    บางคนซ้ำร้ายเณรคุณกร่นด่าลบหลูดูถูกครูตนว่าไม่ดีต่างๆนาๆ  ข้อห้ามที่ได้รับสัจจะวาจาก็ถือปฏิบัติไม่ได้   สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเหตุให้ต้องอาถรรพ์แรงสาปแช่งครูทั้งสิ้น   มีเป็นอันมากที่บางคนตั่งตนเป็นครูรู้เองสำเร็จเอง  ทั้งยังถือดีว่าเก่งกว่าครูดีกว่าครู  อย่างนี้ก็มีให้เห็นกันมาก  โดยที่คนเหล่านี้ไม่กลัวเกรงต่ออาถรรพ์แรงวิชชา   นั้นเพราะผลมันยังไม่เกิดจึงคิดว่าไม่เป็นไร  บางจำพวกก็กร่นด่าสำนักอื่นว่าเลวว่าทำผิดว่าไม่ดี ว่าไม่เก่ง ว่าเป็นของปลอม  โจมตีลบหลูกันสาระพัด  โดยคิดว่าตนเองทำถูกแล้ว   แท้ที่จริงผู้เรียนพระเวทย์ท่านห้ามประมาทครูตนและครูคนอื่น   ที่ห้ามประมาทครูคนอื่นสำนักอื่น   ท่านกันความบาทหมางสร้างศรัตรูอย่างหนึ่ง  เพราะเราลบหลู่เขา  เขาก็ต้องเกลียดเราทั้งที่เป็นคนด้วยกัน  และที่สำคัญคือท่านที่เรามองไม่เห็น  เราไปลบหลู่ผีครูเทวดาครูเขาก็ต้องเกลียดเราด้วย  และสาปแช่งเราด้วย  ถึงคราอัปจนเราก็สามารถถูกท่านเหล่านี้ซ้ำให้เดือดร้อนยิ่งขึ้น   ที่คนโบราณว่าผีซ้ำด้ามพรอย  
อาถรรพ์วิชชานั้น  บางตำราผู้ที่เล่าเรียนและถือปฏิบัติไม่ได้   อย่างแรง   ตายห่า  ตายโหงก็มี    เบาหน่อยก็เป็นบ้าบอเสียจริต   ร้อนรนในจิตในใจ   จิตใจเร่าร้อนร่างกายทุกข์ทรมาน เหตุเพราะธาตุไฟกำเริบ     บ่างก็ชีวิตเดือดร้อนมีแต่ความล้มเหลว  ทำมาหากินไม่ขึ้น  มีเหตุต่างๆเข้ามาในชีวิตซ้ำเติมให้เราเป็นทุกข์  ที่ยกตัวอย่างมานี้เพียงเล็กน้อย เท่านั้น 
 วิชชาครูใหนที่มีความขลังมากก็จะยิ่งมีแรงอาถรรพ์มาก  เปรียบเหมือนกระแสไฟฟ้า  ให้คุณได้มากก็ให้โทษอนันต์เช่นกัน   ผู้ที่เรียนพระเวทย์รุ่นใหม่ทุกวันนี้บางคนก็ต้องแรงครูไม่รู้ตัว  เป็นเพราะทำไม่ถูกตามขนบธรรมเนียมโบราณ  คิดว่ามีคาถามาท่องมันก็ขลังได้   จึงแสวงหามาอ่านมาท่อง  ซื้อมาบ่าง  ลักลอบขายตำราให้กันบ่าง  แจกตำรากันสนั่นหวั่นไหวเลยทีเดียว  เพราะเข้าใจว่าให้ความรู้ได้บุญ  เรียกว่าวิทยาทาน   ทั้งที่ให้กันก็บอกแต่ตัวคาถาให้เอาไปท่องกันตามความเข้าใจ   สิ่งเหล่านี้ที่กล่าวมาล้วนมีโอกาสต้องแรงครูได้ทั้งสิ้น   
การเล่าเรียนวิชชานั้น  ทุกวิชชาล้วนมีครู  มีขนบธรรมเนียมในการปฏิบัติกันทั้งสิ้น  มีขันครูข้อห้าม  ให้ยึดถือปฏิบัติตาม   ถ้าทำไม่ถูกไม่ครบก็เกิดโทษได้  ยิ่งถ้าครูมาจับแล้ววิชชามันเกิดผล  แต่กลับไม่ได้ยึกถือในการปฏิบัติที่ถูกก็ทำให้เดือดร้อน   บางคนเอามาสักมาเสกเองไม่รู้ขั้นตอนปฏิบัติ  เข้าใจว่ามีคาถาเป่ามีฝีมือสักได้ก็ทำไปตามความเข้าใจตนเอง  ตั่งเงินครู  กินเงินครูเอาตามใจชอบ   อย่างนี้ก็มีมาก  เป็นเหตุให้เดือดร้อนได้  
ฉนั้น  
 เรื่องแรงอาถรรพ์วิชชานั้นเป็นสิ่งที่ต้องพึงระวังให้จงดีสำหรับผู้ไฝ่เรียนพระเวทย์  เรียนแล้วลบหลูดูถูกครู  ถือดีว่าตนเก่งกล้าสามารถ  ลืมบุญลืมคุณ  กลัวครูได้ดีกว่าตน กลัวครูแย่งลาภผลของตน  ไม่เชื่อฟังคำสอนคำตักเตือน   นำวิชชาไปทำบาปกรรม เป็นต้น   สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุให้เดือดร้อนชิบหายภายหลังได้ทั้งสิ้น   การเล่าเรียนตำราต่างๆ   คำสอนในพระพุทธศาสนาจึงสอนให้เราต้องเป็นผู้กตัญญูรู้คุณและรู้จักตอบแทนบุญคุณผู้อุปการะตน  ท่านทั้งหลายอย่าได้เห็นแก่ลาภชื่อเสียงจอมปลอม  ลุ่มหลงว่าดีเลิศกว่าความเป็นศิษย์ที่ดี      ถึงเราไม่ทดแทนคุณครูก็จงอย่าประมาทลบหลู

ครูน้อย  นารายณ์พลิกแผ่นดิน 

 

เพจ Jiraporn Tongkampra

เพจ Jiraporn Tongkampra
แบ่งปันสื่อ ไอเดียสอนลูก ใบงาน ไฟล์แบบฝึกหัด เพื่อการเรียนรู้ของลูกน้อย ของเล่นเสริมพัฒนาการ

บ้านนารายณ์ซับสกรีน

บ้านนารายณ์ซับสกรีน
รับออกแบบยันต์ต่างๆ ปั้มลงผ้ายันต์และเสื้อยันต์ รวมทั้งเสื้อใส่เล่น ในราคาถูก

ช่องยูทูปครูน้อย

ช่องยูทูปครูน้อย
ติดตามคลิบวีดีโอที่แบ่งปันวิทยาทานและธรรมทานได้อีกช่องทาง