เผยแพร่องค์ความรู้เกียวแก่เลขยันต์อักขระเป็นวิทยาทาน และให้เช่าบูชาเครื่องราง

ครูน้อย นารายณ์ พลิกแผ่นดิน. ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

อง์แห่งสมาธิ วิตก วิจาร คืออะไร?


วิตก คือ ความตริตรึกในสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ โดยมีจิตดำริถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ ระลึกถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ และมีใจฝังลงไปในสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ(จิต) จิตที่เข้าไปตั้งอาศัยในอารมณ์นั้น ธรรมชาตินั้นย่อมรู้แจ้งในอารมณ์ใดๆ  มีลักษณะอาการที่เกิดกระบวนกระใคร่ครวญในอารมณ์ว่าเหมาะสมดีแล้วจึงยกขึ้นสู่ใจ เรียกว่า วิตก

วิจาร ความใคร่ครวญถึงอารมณ์นั้นอันเป็นสิ่งที่จิตเข้าไปรู้แจ้ง มีลักษณะกำหนดพิจจารณาเห็นแจ้งชัดซึ่งวิตกอยู่ว่า รูปพรรณสัณฐานแห่งการปรุงแต่งของวิตกนั้นว่า ความมีอยู่ เหตุให้เกิดขึ้น ความตั้งอยู่ไม่ได้ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกซึ่งวิตกนั้น นี้เรียกว่า วิจาร

ในปฐมฌาน เพราะสงัดจากกาม อันไม่มีอกุศลธรรมใด
ย่อมละราคะด้วยปฐมฌาน อันมีวิตก วิจาร ปิติ สุข อันเกิดแต่วิเวกอยู่
วิตกและวิจารที่พึงเกิดขึ้น โดยพระพุทธองค์ให้พิจารณาใคร่ครวญธรรม
โดยความเป็นธาตุ โดยความเป็นอายตนะ และโดยความเป็นปฏิจจสมุปบาท
เป็นอารมณ์แห่งจิตนั้น เมื่อพิจารณาใคร่ครวญ
เป็นผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ เห็นอยู่อย่างนี้แล้ว
ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่ผู้นั้น
ปิติย่อมเกิดแก่ผู้ปราโมทย์แล้ว
กายของผู้มีใจปิติแล้วย่อมรำงับ
ผู้มีกายสงบรำงับแล้วย่อมเสวยสุข
จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏแก่ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว
ย่อมรู้เห็นได้ตามความที่เป็นจริงซึ่ง
ทุกข์ (ความแปรปรวนไป ตั้งอยู่ไม่ได้)
เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์
ความดับทุกข์
และข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไปแห่งทุกข์


ดังตัวอย่างว่า
กรณีเจริญอานาปานสติ วิตกและวิจาร ในปฐมฌาน เป็นเรื่องของการตริตรึกและใคร่ครวญ
ในสิ่งที่พระศาสดาทรงตรัสว่า พิจารณาใคร่ครวญธรรม โดยความเป็นธาตุ โดยความเป็นอายตนะ และโดยความเป็นปฏิจจสมุปบาท

หากจะพิจารณาลมหายใจ ก็ให้พิจารณาว่า ลมหายใจ นี้ คือ วาโยธาตุ  ใจที่ระลึกถึงอารมณ์คือ อากาสธาตุ  เสียงที่เปร่งคือ ปฐวีธาตุ

ในปฐมฌาน สมาธิอันเกิดในขั้นนี้ เป็นไปเพื่อ...

๑. การสงัดจากอกุศลธรรม ที่เกิดจาก กาม พยาบาท เบียดเบียน ทางกาย วาจา
๒. การสงัดนิวรณ์ ๕ ทางใจ คือ
  • ความพอใจในกาม 
  • ใจพยาบาท
  • ความที่จิตหดหู่
  • ความฟุ้งซ่าน รำคาญ
  • ความสงสัยเนื่องด้วยไม่รู้
๓. สงัดจากวาจา
๔. สงัดเสียงที่ไม่เป็นเสี้ยนหนามในฌาน

เมื่อธรรมทั้ง ๔ ข้างต้น ส่งไปถึงแล้ว อาการของจิตจะมีได้ดังนี้

๑. ย่อมเกิดปราโมทย์
๒. ย่อมเกิดปิติ
๓. ย่อมเกิดกายสงบ
๔. ย่อมเกิดสุข
๕. ย่อมมีจิตตั้งมั่น

ในขณะทำสมาธิ

วิตก ที่นำมาตริตรึกนั้น อาจจะยกหัวข้อธรรมนั้นขึ้นมาสักเรื่องหนึ่ง เช่นการพิจารณาอานาปานสติสมาธิ
วิจารณ์ ที่นำมาใคร่ครวญต่อนั้น คือ
  • ลมหายใจของเรานั้นเป็นกายอันหนึ่งๆในกายทั้งหลาย
  • การทำในใจอย่างดีต่อลมหายใจเข้าและออกนั้นเป็นเวทนาอันหนึ่งๆในเวทนาทั้งหลาย
  • การที่รู้ว่าจิตของเรานั้นเป็นผู้รู้ลมหายใจเข้าและออกนั้น
  • การเห็นการเกิดและดับในภายใน
เป็นต้น...

วิตกและวิจารณ์ดังกล่าว
       เป็นไปเพื่อกุศลธรรม กุศลธรรมเจริญ อกุศลธรรมเสื่อม
       เป็นไปเพื่อสมาธิ
       เป็นไปเพื่อจิตตั้งมั่น
       เป็นไปเพื่อสติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์
       เป็นไปเพื่อโพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์
       อันอาศัยวิเวก วิราคะ นิโรธ น้อมไปเพื่อการสละคืน
       วิชาและวิมุติ จึงเกิดขึ้น ได้ตั้งแต่ในปฐมฌาน

       ใคร่ครวญว่าเมื่อก่อนเรามีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมเช่นไรกับลมหายใจเข้าและ ออก และหลังจากนั้นเรามีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอย่างไรถึงลมหายใจเข้าและออก หากเราวิจารถึงลมหายใจเข้าและออกช่วงแรกไม่สม่ำเสมอ เดี๋ยวยาวเดี๋ยวสั้นไม่เป็นจังหวะ แต่บัดนี้ลมหายใจของเราเป็นจังหวะที่ราบเรียบ สม่ำเสมอ ละเอียดและประณีตเป็นประจักแก่ใจในปัจจุบันธรรม  อย่างนี้

ผู้ใคร่ในการภาวนาควรศึกษาพิจจารนาตามห้วข้อที่กล่าวนี้  เพื่อให้เกิดความกระจ่างในแนวทาง  จะได้ปฏิบัติไปได้ถูกตรง  ไม่ได้คิดเองเห็นเอง  แต่อาศัยซึ่งคุณแห่งพระธรรมเป็นอุปการะในการพิจจารนา  จึงได้ค้นหาและนำหัวข้อแห่งวิตกและวิจารนี้มาให้ท่านได้เรียนรู้กัน.
ครูน้อย นารายณ์พลิกแผ่นดิน.

วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

" อเสวนา จ พาลานํ "


" อเสวนา  จ  พาลานํ "
ไม่คบคนพาล  พึงคบบัณฑิต 
  ลักษณะคนพาล 
           ส่วนลักษณะคนพาล  พึงทราบด้วยอำนาจทุจริตมีความคิด
เรื่องที่คิดชั่วเป็นต้น.  จริงอยู่  คนพาล  แม้เมื่อคิด  ย่อมคิดแต่เรื่อง
ที่คิดชั่ว  ด้วยอำนาจอภิชฌา  พยาบาล  และมิจฉาทิฏฐิ  ถ่ายเดียว,
แม้เมื่อพูด  ก็พูดจำเพาะแต่คำที่พูดชั่ว  ต่างโดยวจีทุจริตมีมุสวาท
เป็นต้น,  แม้เมื่อทำ  ก็ทำจำเพาะแต่กรรมที่ทำชั่ว  ด้วยสามารถกายทุจริต
มีปาณาติบาตเป็นต้น.   ด้วยเหตุนั้น  ทุจริตทั้งหลายมีความคิดเรื่องที่
คิดชั่วเป็นต้นของเขา  ท่านจึงเรียกว่า  พาลลักษณะ  เพราะคนพาลเป็น
เหตุอันบุคคลกำหนด  คือรู้กันได้,  เรียกว่าพาลนิมิต  เพราะเป็นเหตุ
แห่งการหมายรู้คนพาล,  และเรียกว่าพาลาปทาน  เพราะคนพาลประพฤติ
ไม่ขาด.  ด้วยเหตุนั้น  ในพาลบัณฑิตสูตร*  ในอุปริปัณณาสก์
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า  "ภิกษุทั้งหลาย  พาลลักษณะ  พาลนิมิต
พาลาปทานของคนพาล  ๓  ประการเหล่านี้.  ๓  ประการอะไรบ้าง ?
ภิกษุทั้งหลาย  คนพาลในโลกนี้  ย่อมเป็นผู้คิดแต่เรื่องที่คิดชั่ว  พูดแต่
คำที่พูดชั่ว  ทำแต่กรรมที่ทำชั่ว."
 
 ลักษณะบัณฑิต
 สัตว์ผู้ประกอบด้วยกุศลกรรมบถ  ๑๐  มีเว้นจากฆ่าสัตว์
เป็นต้นเหล่าใดเหล่าหนึ่ง  ชื่อว่า  บัณฑิต.  อีกประการหนึ่ง  พระ
พุทธะ  พระปัจเจกพุทธะ  พระมหาสาวก  ๘๐  และพระสาวกของพระ
ตถาคตเหล่าอื่น  ครูสุเนตต์  และอกิตติดาบสเป็นต้น  ในอดีตกาลพึงทราบว่า 
 "บัณฑิต."  ท่านเหล่านั้นแม้ทั้งหมด  เรียกว่าบัณฑิต   ส่วนลักษณะบัณฑิต 
 พึงทราบด้วยสามารถแห่งสุจริตมีความ
คิดเรื่องที่คิดดีเป็นต้น  ที่ตรัสไว้ในพาลบัณฑิตสูตร๔อย่างนี้ว่า  "ภิกษุ
ทั้งหลาย  บัณฑิตลักษณะ  บัณฑิตนิมิต  บัณฑิตาปทาน  ของ
บัณฑิต ๓  ประการเหล่านี้.  ๓  ประการอะไรบ้าง ?  ภิกษุทั้งหลาย
บัณฑิตในโลกนี้  ย่อมเป็นผู้คิดแต่เรื่องที่คิดดี  พูดแต่คำพูดที่ดี  และ
ทำแต่กรรมที่ทำดี."  ก็คำว่า  สุจินฺติตจินฺตี  เป็นต้น
 
  ในคนพาลและบัณฑิตทั้ง ๒  พวกนั้น  พวกบัณฑิตเท่านั้น
ควรเสพ,  พวกคนพาล  หาควรเสพไม่;  เพราะพวกคนพาลเป็นเช่น
 กับปลาเน่า,  ผู้เสพคนพาลนั้น  ก็เช่นกับใบไม้ห่อปลาเน่า  ถึงความ 
เป็นผู้อันวิญญูชนทั้งหลายควรทิ้งและเกลียดชัง.  (ฝ่าย)  บัณฑิต  เป็น
เช่นกับของหอมมีกฤษณาและมาลาเป็นต้น  ถึงความเป็นผู้ควร
กับใบไม้ที่พันของหอมมีกฤษณาและมาลาเป็นต้น  ถึงความเป็นผู้ควร
สรรเสริญและฟูใจของวิญญูชนทั้งหลาย.  
           ก็ผู้ใดคบคนใด,  ผู้นั้นก็มีคนนั้นเป็นคติเทียว. 
   [เรื่องม้าปัณฑวะ]
             ในอดีตกาล  ได้มีพระราชา  (พระองค์หนึ่ง)  ในกรุง 
พาราณสี  ทรงพระนามว่า  สามะ  พระโพธิสัตว์เป็นอำมาตย์ผู้อนุศาสก์
อรรถธรรมของท้าวเธอ.  และท้าวเธอมีม้ามงคลอยู่  (ตัวหนึ่ง)  ชื่อ
ปัณฑวะ.  คนเลี้ยงม้าของพระองค์  ชื่อนายคิริทัต  เป็นคนขาเขยก.
ม้าเห็นเขาจับบังเหียนเดินนำหน้า  สำคัญว่า  "เจ้านี่  ให้เราศึกษา"
จึงสำเหนียกตามอาการของเขา  ได้เป็นม้าขาเขยกไป.   พระราชาว่า
"พวกข้าพระองค์ไม่พบโรคของม้านั้น."  พระราชาทรงส่งพระโพธิ-
สัตว์ไป  ด้วยรับสั่งว่า  "ท่านจงไป  (ดูให้)  รู้เหตุในเรื่องนี้."  พระ
โพธิสัตว์นั้นไปแล้ว  ทราบว่าม้านั้นเดินกะเผลก  เพราะเกี่ยวข้อง๑กับ
คนเลี้ยงม้าขาเขยก  จึงกราบทูลว่า  "ขอเดชะ  เหตุที่เป็นเช่นนี้
เพราะโทษที่เกี่ยวข้องกัน"  ดังนี้แล้ว  กราบทูลว่า  "ม้านั้น  ได้คน
เลี้ยงที่ดีแล้ว  จักดีเหมือนอย่างเดิม."  พระราชารับสั่งให้ทำอย่าง
นั้น.  ม้าได้ตั้งอยู่ในปกติภาพแล้ว.
           เรื่องม้าปัณฑวะ   ในอรรถกถาแห่งคิริทัตตชาดก๒ในทุกนิบาต  จบ.
  "การพบพระอริยเจ้าทั้งหลาย  เป็นความดี
              การอยู่ร่วม   เป็นสุข  ทุกเมื่อ, บุคคลพึงมีความ
              สุข  เป็นนิตย์ได้แท้จริง  ก็เพราะไม่พบคนพาล
              ทั้งหลาย."
   [เรื่องวิพภันติกภิกษุ]
           ดังได้สดับมา  ภิกษุนั้นเป็นสัทธิวิหาริกของพระมหากัสสปเถระ
เป็นผู้ได้จตุตถฌาน  เห็นรูปารมณ์อันเป็นข้าศึก  ในเรือนแห่งลุงของ
ตนแล้ว  ก็มีจิตผูกพันในอารมณ์นั้น  สึกแล้ว  ถูกไล่จากเรือน
เพราะเป็นคนเกียจคร้าน  เชื่อคำของพวกปาปมิตร  เที่ยวเลี้ยงชีวิต
อยู่ด้วยโจรกรรม.  วันหนึ่ง  เขาถูกพวกเจ้าพนักงานจับได้  มัดแขน 
 ไพล่หลังไว้มั่น  แล้วจึงเอาหวายเฆี่ยนคราวละ ๔ๆ  นำไปสู่ตะแลง- 
แกงทางประตูด้านทักษิณ  แห่งกรุงราชคฤห์.  วันนั้น  พระมหา-
กัสสปเข้าไปสู้พระนครเพื่อบิณฑบาต  เห็นเขาแล้ว  ขอให้พวก  
เจ้าพนักงานคลายเชือกมัดให้หย่อน   แล้วกล่าวว่า  "เจ้าจงคำเถระแล้ว
กัมมัฏฐาน  ที่เจ้าอบรมไว้ในกาลก่อนอีก."  เขารับคำเถระแล้ว 
ยังจตุตถฌานให้บังเกิดอีก  ถูกพวกเจ้าพนักงานเหล่านั้นนำไปสู่ตะเลง 
แกงแล้ว  ให้นอนหงายบนหลาวก็ดี  ถูกขู่ด้วยอาวุธทั้งหลายก็ดี  ก็
ไม่กลัว.  พวกเจ้าพนักงานเห็นเขาไม่กลัว  จึงทูลแด่พระเจ้าพิมพิสาร.
พระราชารับสั่งว่า  "พวกท่านจงปล่อยมันไป"  แล้วเสด็จไปสู่พระ
เวฬุวัน  ทูลแด่พระศาสดา.  พระศาสดาประทับนั่งอยู่ในเวฬุวัน
ทรงแผ่พระรัศมีไปแสดงธรรมแก่เขา.  เขาได้ฟังเทศนา  นั่งอยู่บน
ปลายหลาวนั่นแล  พิจารณาสังขารยกขึ้นไตรลักษณ์  ได้เป็นพระ
โสดาบันแล้ว  ไปสู่สำนักพระศาสดาทางเวหาส  บวชแล้วบรรลุพระ
อรหัต  ในท่านกลางบริษัท  พร้อมทั้งพระราชานั่นเอง  ดังนี้แล.
       เรื่องวิพภันติกภิกษุ  ในตัณหาวรรคพระธรรมบท*  จบ.
ครูน้อย นารายณ์พลิกแผ่นดิน
 

ธรรมมีอุปการะมาก ๒ อย่าง


ธรรมมีอุปการะมาก ๒ อย่าง
๑. สติ ความระลึกได้
๒. สัมปชัญญะ ความรู้ตัว
สติ และ สัมปชัญญะ ทั้งสองนี้ ชื่อว่า มีอุปการะมาก เพราะเป็นอุปการธรรมอุดหนุนให้สำเร็จกิจในทางที่เป็นกุศลแต่ฝ่ายเดียว
๑. สติ แปลว่าความระลึก หรือความระลึกได้ หมายความว่า ลักษณะเครื่องกำหนดของสตินั้น ก็คือความระลึกรู้ได้ในทั้ง ๓ กาล กล่าวคือ ระลึกอดีตกาลได้ ระลึกปัจจุบันกาลได้ ระลึกเรื่องอนาคตกาลได้ กิจหรือ หน้าที่ของสตินั้น ก็คือการไม่ลืมเรื่องอดีตระลึกได้ทุกครั้งที่ต้องการ,ไม่เลื่อนลอยเผลอตัวในเรื่องปัจจุบัน ไม่หวาดหวั่นฟุ้งเฟ้อในเรื่องอนาคต ประดุจนายสารถีผู้ไม่ประมาทคอยบังคับรถเรือให้แล่นไปโดยปลอดภัยฉะนั้น
๒. สัมปชัญญะ แปลว่า ความรู้ตัว หมายความว่า ลักษณะของสัมปชัญญะนี้ ได้แก่ความรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันธรรม รู้ชัดโดยถูกต้อง ไม่ใช่หลง ๆ ลืม ๆ หลับ ๆ ตื่น ๆ ฟั่นเฟือนในขณะยืน เดิน นั่งนอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด เป็นต้น รู้สึกตัวดีอยู่ ตื่นตัวดีอยู่ว่ากำลังยืน เดิน นั่ง นอน เป็นต้น สัมปชัญญะจึงเป็นอุปการะให้อยู่กับปัจจุบันธรรม
ท่านกล่าวว่า ที่ชื่อว่ามีอุปการะมากเพราะเป็นเครื่องนำมาซึ่งประโยชน์เกื้อกูลในกิจการทุกอย่าง เปรียบเหมือนมารดาคอยอุปการะบุตรที่เกิดในอุทรของตนไม่ให้เกิดอันตราย ความไม่ประมาทเป็นอุปการะในการบำเพ็ญศีลเป็นต้น หมายความว่า ธรรม ๒ ประการนี้ มีอยู่แก่ผู้หนึ่งผู้ใด ผู้นั้นกระทำกิจการใด ๆ จะบำเพ็ญศีล เจริญสมาธิ เจริญปัญญาก็ตาม จะเล่าเรียนเขียนอ่านก็ตาม ย่อมสำเร็จด้วยดี ไม่ผิดพลาด ปราศจากภยันตรายทุกประการ ในที่ทุกสถาน และในกาลทุกเมื่อ


 กดดูคลิบตรงนี้

วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ผ้าแดงผ้าขาวอุบายธรรมสอนใจคน


ผ้าแดงผ้าขาวอุบายธรรมสอนใจคน
น้อยคนจะเข้าใจความหมายของผ้าแดงกับผ้าขาวในขันครูว่าเป็นอุบายธรรมสอนคนอย่างไร
มันจึงเป็นแค่อุปกรอย่างหนึ่งที่ใส่ในขันครูเท่านั้น ผมมานั่งพิจจารนาก็ให้เห็นความจริงที่คนส่วนหนึ่งทำกันคือ กราบไหว้ครูเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์แต่กลับไม่ได้กราบตรงไปถึงคุณด้วยใจนอบน้อมจริงๆ จะเห็นได้จากประวัติเรื่องราวที่กล่าวยกย่องครูส่วนมากก็จะเอ่ยว่า ท่านใดศักดิ์สิทธิ์อย่างไร เก่งกาจอย่างไรในพระเวทย์ แม้การกล่าวประวัติความเป็นมาของครูสายภิกษุสงฆ์ก็มักจะเอ่ยอ้างถึงคุณวิเศษแห่งฤทธิ์ซึ่งต้องการสื่อถึงความศักดิ์สิทธิ์ การเคารพของคนส่วนหนึ่งจึงเคารพเพราะความศักดิ์สิทธิ์เป็นสำคัญในจิตใจ
คุณธรรมกับความศักดิ์สิทธิ์นั้นมันห่างไกลกันคนละความหมาย เพียงแต่มีอุปการะเป็นเหตุปัจจัยแก่กัน ผู้ที่อบรมตนด้วยคุณธรรมย่อมเป็นเหตุให้เข้าถึงคุณวิเศษ(คุณพิเศษ) ด้วยความพิเศษแห่งคุณนี้เราก็ถือเอาว่าเป็นความศักดิ์สิทธิ์ จึงเคารพหมอบกราบที่ความศักดิ์สิทธิ์ แต่กลับเข้าไม่ถึงคุณธรรมแท้จริงของท่านครูเหล่านั้น
ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกเลยที่คนบางส่วนที่ถือความศักดิ์สิทธิ์ จะได้มองข้ามคุณธรรม จึงมีส่วนน้อยจะเอ่ยอ้างยกย่องครูที่พร่ำสอนตน เพราะครูปัจจุบันที่พร่ำสอนไม่มีความศักดิ์สิทธิ์ในใจ เป็นแค่ผู้ให้ความรู้ในความสำนึกเท่านั้น คนเหล่านี้จะไม่เกรงกลัวคำครู แต่จะเกรงกลัวความศักดิ์สิทธิ์ของครูเก่าก่อน ยิ่งได้ยิ่นว่าท่านขลังก็ยิ่งเคารพยำเกรง แต่กับครูที่พร่ำสอนตนกลับไม่เคารพเชื่อฟัง
ด้วยภูมิปัญญาครูเก่าท่านที่รู้และผ่านเรื่องเหล่านี้มาก่อนจึงผูกปริศนาไว้สอนคน ว่าการเคารพกราบไหว้ก็ควรให้เคารพที่คุณเสมอเหมือนกัน ไม่ว่าครูแก่เก่าก่อนหรือครูปัจจุบัน ผ้าขาวนั้นจึงเปรียบผู้ที่มีเพียงคุณความดีที่บริสุทธิ์ที่เหลือฝากไว้ ผ้าแดงนั้นคือครูผู้ที่ยังมีเลือดเนื้อสีแดงไหลเวียนที่ยังคอยพร่ำสอนศิษย์ให้เจริญในสัพพะวิชชา ผ้าขาวรองรับผ้าแดงที่วางทับซ้อนหมายถึงแรงครู วิญญาณผีครูเทวดาครูคอยหนุนส่ง ผ้าแดงรองกลวยดอกไม้ที่เป็นสิ่งแทนความหมายของรูปนาม ของตัวผู้เล่าเรียน อันหมายความว่าครูผู้สอนสั่งยกยอเราให้มีความเจริญในวิชชานั่นเอง
ซึ่งเราจะเห็นว่า สิ่งที่กล่าวมานี้ล้วนแสดงให้เห็นถึงคุณธรรมอันดีที่ความเป็นครูและศิษย์มีแก่กัน เป็นสายใยแห่งความดีงามที่คนโบราณสอนให้เรารู้จักสำนึกคุณความดีของผู้อุปการะคุณ ไม่ได้มุ่งเน้นให้คนงมงายแต่ในความศักดิ์สิทธิ์ ผมพิจจารนาแล้วเห็นอย่างนั้น เห็นแต่การสรรเสริญความศักดิ์สิทธิ์ สุดท้ายก็ยกความศักดิ์สิทธิ์ว่าเป็นของตัวไป น้อยนักที่จะซาบซึ้งถึงบุญคุณของผู้มีคุณด้วยใจบริสุทธิ์แท้จริง  จิตสำนึกไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ  แต่จะเกิดขึ้นได้เพราะบุคคลนำมาสร้างเหตุ นำมาคิดพิจจารณาถึงความอุปการะที่ได้รับจากครูผู้สั่งสอน  การหมอบกราบในหลักคำสอนทางศาสนาพุทธนั้น  เป็นหลักคารวตา


คารวะ หรือ คารวตา 6 (ความเคารพ, การถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะพึงใส่ใจและปฏิบัติด้วยความเอื้อเฟื้อ หรือโดยความหนักแน่นจริงจัง, การมองเห็นคุณค่าและความสำคัญแล้วปฏิบัติต่อบุคคลหรือสิ่งนั้นโดยถูกต้อง ด้วยความจริงใจ)
       1. สัตถุคารวตา (ความเคารพในพระศาสดา ) ข้อนี้บางแห่งเขียนเป็น พุทธคารวตา (ความเคารพในพระพุทธเจ้า )หมายถึงความเคารพใน  พระมหากรุณาธิคุณ   พระปัญญาธิคุณ  พระบริสุทธิคุณ เป็นอเนกอนันต์
       2. ธัมมคารวตา (ความเคารพในธรรม )  คือการศึกษาปฏิบัติด้วยความเคารพ
เป็นอเนกอนันต์
       3. สังฆคารวตา (ความเคารพในสงฆ์)   พระสงฆ์ เพราะเป็นผู้สูงด้วยคุณธรรม และเป็นผู้นำทางจิตใจ คฤหัสถ์ย่อมบำรุงพระสงฆ์ ผู้มีคุณด้วยหลักห้าประการ ดังนี้
           1) จะทำสิ่งใด ก็ทำด้วยเมตตา
           2) จะพูดสิ่งใด ก็พูดด้วยเมตตา
           3) จะคิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา
           4) ต้อนรับด้วยความเต็มใจ
           5) อุปถัมภ์ด้วยปัจจัย 4
        4. สิกขาคารวตา (ความเคารพในการศึกษา )
       5. อัปปมาทคารวตา (ความเคารพในความไม่ประมาท)
       6. ปฏิสันถารคารวตา (ความเคารพในปฏิสันถารการต้อนรับไปมาหาสู่กัน)

ตามที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นข้อศึกษา  ให้เราทำความเข้าใจเพื่อให้เกิดจิตสำนึก  แล้วลงมือปฏิบัติอย่างถูกต้องตามธรรม  ตามหน้าที่
ผู้ถือไสย์เวทย์หากทำไม่ถูกก็จะยิ่งก่อเกิดโทษเป็นบาปกรรมทำความเสื่อมแก่ตน  ด้วยความที่ยึดถือผิดๆ แล้วกระทำตนผิดจากคุณธรรมอันดีงาม  ความศรัทธานั้นไม่ใช่เรื่องผิด  ที่จะผิดนั้นเพราะศรัทธาที่มีไม่ประกอบด้วยปัญญา  พระพุทธศาสนาเรียกความเห็นผิด ( มิจฉาทิฏฐิ)   แม้เราจะร่ำเรียนพระเวทย์คาถาซึ่งมีจุดเด่นเรื่องความอัศจรรย์อภินิหารย์  แต่จุดมุ่งหมายแท้จริงของครูผู้สอน  ที่มีสัมมาทิฏฐิ ท่านวางกลวางแบบอย่างเหล่านี้เพื่อจะได้เป็นอุบายวิะีชักนำคนเข้าหาพระธรรมที่ถูกต้อง  ไม่ได้มุ่งหวังให้เรางมงายในความศักดิ์สิทธิ์  เพราะแท้แล้วบรมครูทุกๆท่านที่เราเคารพนั้น  ทุกท่านล้วนก่อร่างคุณวิเศษเริ่มมาจาก  คุณธรรมกันทั้งสิ้น  คือประพฤติปฏิบัติตามหลักพระธรรมคำสอนที่ถูกตรง  จนเกิดคุณวิเศษที่เป็นผลพลอยได้นั้นมา  แสดงให้เราเกิดศรัทธา เพื่อจะได้นำพาเราให้เข้าถึงการปฏิบัติอันเป็นความหมดจดอย่างแท้จริง   
ฉนั้น  การเคารพกราบไหว้  ขอให้เราท่านตรึกตรองให้ดีว่าเราเคารพตามแบบอย่างคำสอนใหม  หรือเราเองยังหมอบกราบตามลัทธิ เทวนิยมกันอยู่

ครูน้อย นารายณ์พลิกแผ่นดิน.

วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

เคล็ดวิธีฝึกสัมผัสโลกทิพย์(คำสอนท่าน อ.บุญชู)



เคล็ดวิธีฝึกสัมผัสโลกทิพย์(คำสอนท่าน  อ.บุญชู)

เรื่องของการฝึกสมาธิ ในข้อความนี้ก็จะแนะนำให้ท่านใช้ประโยชน์ในการฝึก ในคุณประโยชน์ของการฝึก ว่าใช้อะไรบ่าง
 ณ. ที่นี้ก็จะให้รู้ถึงการใช้ประโยชน์ในการสัมผัสกับดวงวิญญาณ หรือ โลกทิพย์ ที่เป็นสัมภะเวสี หรือเทพครู หรือทวยเทพต่างๆ เพื่อการติดต่อสื่อสารทางจิตวิญญาณ
ก่อนอื่นก็ต้องทำการฝึกให้ได้กำลังสมาธิเสียก่อน ในการกำหนดองค์นิมิตร ให้เราทำจิตใจให้สงบ สืบลมเข้ายาว  ออกยาว สำรวมจิตให้สงบ  แล้วเข้าสู่อารมณ์ที่ช่องว่าง โดยใช้หลักการหยุดลม ทำใจจดจ่อกำหนดเอาอาการความรู้สึกนิ่งสงบนั้นไว้ ประคองอารมณ์อย่าให้ไปคิดเรื่องภายนอก แล้วตั่งความคิดให้เห็นภาพที่แสดงตรงหน้าเราเป็นจอภาพว่างเปล่า ให้กำหนดฝึกอย่างนี้จนชำนาญ จิตใจเราจะโล่งสบายผ่อนคลาย เมื่อจะกลับสู่ภาวะรูปก็ให้ทำความรู้สึกมาที่ลมหายใจเหมือนเดิม อย่างนี้
เมื่อเราฝึกจนคุ้นเคยกับอารมณ์ว่างได้ เมื่อเราจะใช้กำหนดโลกทิพย์ ก็สามารถตั่งอธิฐานชั่วขณะ แล้วเข้าสู่อารมณ์ว่างนั้น การกำหนดจิตให้เราทำความรู้สึกเปิดรับสิ่งที่ผ่านเข้ามาในรอบรัสมีจิตของเรา เหมือนเราเอากระจกตั่งไว้ อะไรผ่านมาก็มองเห็น ห้ามใช้จิตที่อยากรู้อยากเห็นในการกำหนดหา เพราะถ้าต้องการเห็นจะไม่เห็น  ยิ่งจะทำให้จิตฟุ้งซ่าน วางใจเป็นกลางไม่ยินดียินร้าย เห็นก็ชั่งไม่เห็นก็ช่าง ถ้าเขาต้องการให้เราสำผัสเราจะสัมผัสได้เอง อาจมาในรูปภาพเพียงเเวบเดียว หรือเป็นภาพเงาคนเคลื่อนไหว ถ้าเป็นเทพจะมีแสงเรืองรองรอบตัว ถ้าเป็นสัมพะเวสีจะเป็นเงาดำ บางคนอาจได้กลิ่นด้วย เป็นเทพก็กลิ่นหอม เป็นผีก็กลิ่นสาบเหม็น บางคนก็จะสามารถสื่อภาษาจิตกับเขาได้ แต่ในการสำผัสจะขึ้นอยู่กับกำลังสมาธิที่เราฝึก ถ้ามีมากก็จะชัดเจนบางทีมีน้อยก็ไม่ชัดและเพียงชั่วครู่ ถ้าเรายิ่งอยากรู้เพิ่มก็ยิ่งหาไม่เจอ
ก็ฝากเป็นการบ้านการปฏิบัติให้ทุกท่านได้ฝึกตามเด้อ
  สอนพอบอกได้ก็มาอธิบายให้กันฟังและทำตาม เพื่อจะได้มีกำลังใจในการฝึก และในบางอย่างเราเอาตาเนื้อพิสูจไม่ได้ แต่เราใช้ตาใจพิสูจได้ ของทิพย์บางอย่างเราอาจมองด้วยตาและตัดสินตามที่เห็น แต่ผู้มีญานการกำหนดท่านจะรู้และทราพเอง ไม่มีใครเอาของปลอมมาหรอกท่านได้หรอก ถ้าของทิพจริงจะมีเทพมีครูท่านตามรักษา ถ้าเปรียบก็เหมือนเสาต้นหนึ่งๆ ที่รับคลื่นจากแหล่งกำเนิดพลังงานนั่นเอง
ทีนี้ถ้าท่านฝึกได้ก็ไม่ต้องกลัวว่าใครจะมาหลอกเรา เพราะตาใจมันเห็น ตั่งใจฝึกจิต รักษาศีล ทำสมาธิ ฟังธรรมให้เกิดปัญญา แล้วท่านจะเจริญในวิชชาเอง อย่างลืมด้วย ในเวลาทำดีให้อธิฐานบารมีด้วยว่าเราต้องการอะไร แล้วเราจะได้จะเป็นอย่างที่ต้องการ....สาธุๆๆ
* ผล เกิด จากเหตุ แม้ไม่ต้องการผล ต่อเมื่อสร้างเหตุได้พอ ผลย่อมมีเอง คุณวิเศษต่างๆก็เช่นกัน แม้ไม่อยาก แต่ถ้าทำถูกเหตุจนพอ ผลย่อมปรากฏเอง...!




ครูน้อย นารายณ์ พลิกแผ่นดิน

อาถรรพ์แรงครู


อาถรรพ์แรงครู

เรื่องอาถรรพ์แรงสาปแช่งครูนั้นเป็นสิ่งเล้นลับ  น่าสะพรึงกลัว  ผู้ใดต้องคำสาปแช่งสาบานแล้วไม่ใช่สิ่งจะมาถอดถอนกันได้ง่ายๆ  ยิ่งถ้าถูกต้องเข้าไปแล้ว  มันก็ต้องรับเวลรับกรรมกันไปจนจะสิ้นสุดเลยทีเดียว  อุปมาเหมือนคนปวดอุจจาระ  เมื่อปวดแล้วก็ต้องขับถ่ายออก  ต่อเมื่อได้ขับถ่ายออกเสร็จสิ้นนั้นแหละ  ความทรมานแห่งอาการจึงจะหายไป   กรรมปาบหยาบช้าก็เช่นกันเมื่อมันแสดงผลเมื่อใด  ผู้ทำกรรมก็ต้องรับผลกรรมนั้นจนกว่าจะหมดกำลังแห่งผลบาปกรรมนั้น   เราท่านก็ควรตระหนักให้จงดีต่อเมื่อจะทำกรรมอันใดลงไป  จงใช้สติปัญญาใคร่ครวญให้รอบคอบถึงผลแห่งกรรมที่จะตามมา  ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่วแน่นอน  จะให้ผลช้าหรือเร็วเท่านั้น   เปรียบเหมือนต้นไม้ที่ออกดอกผลได้ช้าเร็วต่างกัน  บางชนิดออกดอกผลได้เร็ว  บางชนิดใช้เวลานับแรมปีหรือหลายปีกว่าจะเติบโตให้ผล  กรรมดีหรือชั่วที่เรากระทำลงไปนั้นก็อุปมาได้อย่างนั้น  คนทำชั่วบางทีที่ยังไม่ได้รับผลกรรมชั่ว  แต่กลับเสวยความสุขอยู่  นั้นเป็นเพราะกรรมดีบุญเก่ายังให้ผลไม่เสร็จ  ต่อเมื่อหมดบุญเก่า  บาปกรรมก็จะมีช่องทางให้ผลในทันที่
 เรื่องของอาถรรพ์   แรงสาปแช่งครูก็เช่นกัน  แรงสาปแช่งเกิดจากคนที่เล่าเรียนตำราพระเวทย์  เป็นคนอักตัญญูต่อครูบาอาจารย์ผู้สอนสั่งสรรพวิชชาให้  ทำความเสื่อมเสีย  ทำความย่ำยีตำราครู  เหยียบย่ำดูถูก  ลบหลู่ประมาท   ไม่สำนึกในคุณผู้อุปการะตน  บ่างก็ถือข้อห้ามไม่ได้นำวิชชาพระเวทย์ไปสร้างบาปกรรมแก่คนอื่นเสื่อมเสียมาถึงครู  บ่างก็เหยียบย่ำไม่เชื่อฟังคำตักเตือนบอกกล่าวสั่งสอนของครู  โกรธเกลียดลบหลูดูถูกเหยียบย่ำน้ำใจ   ผู้ที่สั่งสอนความรู้ให้    บางคนซ้ำร้ายเณรคุณกร่นด่าลบหลูดูถูกครูตนว่าไม่ดีต่างๆนาๆ  ข้อห้ามที่ได้รับสัจจะวาจาก็ถือปฏิบัติไม่ได้   สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเหตุให้ต้องอาถรรพ์แรงสาปแช่งครูทั้งสิ้น   มีเป็นอันมากที่บางคนตั่งตนเป็นครูรู้เองสำเร็จเอง  ทั้งยังถือดีว่าเก่งกว่าครูดีกว่าครู  อย่างนี้ก็มีให้เห็นกันมาก  โดยที่คนเหล่านี้ไม่กลัวเกรงต่ออาถรรพ์แรงวิชชา   นั้นเพราะผลมันยังไม่เกิดจึงคิดว่าไม่เป็นไร  บางจำพวกก็กร่นด่าสำนักอื่นว่าเลวว่าทำผิดว่าไม่ดี ว่าไม่เก่ง ว่าเป็นของปลอม  โจมตีลบหลูกันสาระพัด  โดยคิดว่าตนเองทำถูกแล้ว   แท้ที่จริงผู้เรียนพระเวทย์ท่านห้ามประมาทครูตนและครูคนอื่น   ที่ห้ามประมาทครูคนอื่นสำนักอื่น   ท่านกันความบาทหมางสร้างศรัตรูอย่างหนึ่ง  เพราะเราลบหลู่เขา  เขาก็ต้องเกลียดเราทั้งที่เป็นคนด้วยกัน  และที่สำคัญคือท่านที่เรามองไม่เห็น  เราไปลบหลู่ผีครูเทวดาครูเขาก็ต้องเกลียดเราด้วย  และสาปแช่งเราด้วย  ถึงคราอัปจนเราก็สามารถถูกท่านเหล่านี้ซ้ำให้เดือดร้อนยิ่งขึ้น   ที่คนโบราณว่าผีซ้ำด้ามพรอย  
อาถรรพ์วิชชานั้น  บางตำราผู้ที่เล่าเรียนและถือปฏิบัติไม่ได้   อย่างแรง   ตายห่า  ตายโหงก็มี    เบาหน่อยก็เป็นบ้าบอเสียจริต   ร้อนรนในจิตในใจ   จิตใจเร่าร้อนร่างกายทุกข์ทรมาน เหตุเพราะธาตุไฟกำเริบ     บ่างก็ชีวิตเดือดร้อนมีแต่ความล้มเหลว  ทำมาหากินไม่ขึ้น  มีเหตุต่างๆเข้ามาในชีวิตซ้ำเติมให้เราเป็นทุกข์  ที่ยกตัวอย่างมานี้เพียงเล็กน้อย เท่านั้น 
 วิชชาครูใหนที่มีความขลังมากก็จะยิ่งมีแรงอาถรรพ์มาก  เปรียบเหมือนกระแสไฟฟ้า  ให้คุณได้มากก็ให้โทษอนันต์เช่นกัน   ผู้ที่เรียนพระเวทย์รุ่นใหม่ทุกวันนี้บางคนก็ต้องแรงครูไม่รู้ตัว  เป็นเพราะทำไม่ถูกตามขนบธรรมเนียมโบราณ  คิดว่ามีคาถามาท่องมันก็ขลังได้   จึงแสวงหามาอ่านมาท่อง  ซื้อมาบ่าง  ลักลอบขายตำราให้กันบ่าง  แจกตำรากันสนั่นหวั่นไหวเลยทีเดียว  เพราะเข้าใจว่าให้ความรู้ได้บุญ  เรียกว่าวิทยาทาน   ทั้งที่ให้กันก็บอกแต่ตัวคาถาให้เอาไปท่องกันตามความเข้าใจ   สิ่งเหล่านี้ที่กล่าวมาล้วนมีโอกาสต้องแรงครูได้ทั้งสิ้น   
การเล่าเรียนวิชชานั้น  ทุกวิชชาล้วนมีครู  มีขนบธรรมเนียมในการปฏิบัติกันทั้งสิ้น  มีขันครูข้อห้าม  ให้ยึดถือปฏิบัติตาม   ถ้าทำไม่ถูกไม่ครบก็เกิดโทษได้  ยิ่งถ้าครูมาจับแล้ววิชชามันเกิดผล  แต่กลับไม่ได้ยึกถือในการปฏิบัติที่ถูกก็ทำให้เดือดร้อน   บางคนเอามาสักมาเสกเองไม่รู้ขั้นตอนปฏิบัติ  เข้าใจว่ามีคาถาเป่ามีฝีมือสักได้ก็ทำไปตามความเข้าใจตนเอง  ตั่งเงินครู  กินเงินครูเอาตามใจชอบ   อย่างนี้ก็มีมาก  เป็นเหตุให้เดือดร้อนได้  
ฉนั้น  
 เรื่องแรงอาถรรพ์วิชชานั้นเป็นสิ่งที่ต้องพึงระวังให้จงดีสำหรับผู้ไฝ่เรียนพระเวทย์  เรียนแล้วลบหลูดูถูกครู  ถือดีว่าตนเก่งกล้าสามารถ  ลืมบุญลืมคุณ  กลัวครูได้ดีกว่าตน กลัวครูแย่งลาภผลของตน  ไม่เชื่อฟังคำสอนคำตักเตือน   นำวิชชาไปทำบาปกรรม เป็นต้น   สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุให้เดือดร้อนชิบหายภายหลังได้ทั้งสิ้น   การเล่าเรียนตำราต่างๆ   คำสอนในพระพุทธศาสนาจึงสอนให้เราต้องเป็นผู้กตัญญูรู้คุณและรู้จักตอบแทนบุญคุณผู้อุปการะตน  ท่านทั้งหลายอย่าได้เห็นแก่ลาภชื่อเสียงจอมปลอม  ลุ่มหลงว่าดีเลิศกว่าความเป็นศิษย์ที่ดี      ถึงเราไม่ทดแทนคุณครูก็จงอย่าประมาทลบหลู

ครูน้อย  นารายณ์พลิกแผ่นดิน 

วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ทำวัตรเย็น





ทำวัตรเย็น
(คำบูชาพระ และปุพพภาคนมการใช้อย่างเดียวกับทำวัตรเช้า)
๑.พุทธานุสสติ
(ผู้เป็นหัวหน้ากล่าวนำว่า)
หันทะ มะยัง พุทธานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส.
(แล้วสวดพร้อมกันว่า)
ตัง โข ปะนะ ภะตะวันตัง เอวัง กัลป์ยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคะโต,         
ก็กิตติศัพทย์อันงามของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ได้ฟุ้งไปแล้วอย่างนี้ว่า,
อิติปิโส ภะคะวา,        
เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น,
อะระหัง,      เป็นผู้ไกลจากกิเลส,
สัมมาสัมพุทโธ,   
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,
วิชชาจะระณะสัมปันโน,   
เป็นผู้ถึงพร้อม ด้วยวิชชาและจรณะ,
สุคะโต,        เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี,
โลกะวิทู,      เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง,
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ,       
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สม ควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า,
สัตถาเทวะมะสุสสานัง,       
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย,
พุทโธ,          เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม,  
ภะคะวาติฯ   เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้.
๒.พุทธาภิคีติ
(ผู้เป็นหัวหน้ากล่าวนำว่า)
หันทะ มะยัง พุทธาภิคีติง กะโรมะ เสฯ
(แล้วสวดพร้อมกันว่า)
พุทธวาระหันตะวะระตาทิคุณาภิยุตโต,  
พระพุทธเจ้าประกอบด้วยคุณมีความประเสริฐแห่งอรหันตคุณ, เป็นต้น,
สุทธาภิญาณะกะรุณาหิ สะมาคะตัตโต,
       มีพระองค์อันประกอบด้วยพระญาณ และพระกรุณาอันบริสุทธิ์,
โพเธสิ โย สุชะนะตัง กะมะลังวะ สูโร,
       พระองค์ใดทรงกระทำชนที่ดีให้เบิกบาน ดุจอาทิตย์ทำบัวให้บาน
วันทามะหัง ตะมะระณัง สิระสา ชิเนนทัง,
       ข้าพเจ้าไหว้พระชินสีห์ผู้ไม่มีกิเลส, พระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า,
พุทโธ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะ มุตตะมัง,
       พระพุทธเจ้าพระองค์ใดเป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย,
ปะฐะมานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,
       ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่หนึ่ง ด้วยเศียรเกล้า,
พุทธัสสาหัสมิ ทาโส (หญิงว่า ทาสี) วะพุทโธ เม สามิกิสสะโร,
       ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า, พระพุทธเจ้าเป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า,
พุทโธ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
       พระพุทธเจ้าเป็นเครื่องกำจัดทุกข์ และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า,
พุทธัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัฐชีวิตัญจิทัง,
       ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้แต่พระพุทธเจ้า,
วันทันโตหัง (หญิงว่า วันทันตีหัง) จะริสสามิ พุทธัสเสวะ สุโพธิตัง,
   ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตามซึ่งความตรัสรู้ดีของพระพุทธเจ้า
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง,
       สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระพุทธเจ้าเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,
       ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา,
พุทธัง เม วันทะมาเนนะ (หญิงว่า วันทะมานายะ) ยัง ปุญญังปะสุตัง อิธะ,
       ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ขวนขวายบุญใด ในบัดนี้,
สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา,
อันตรายทั้งปวงอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น,                         (กราบขอขมา)
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,
       ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี,
พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
       กรรมนาติเตียนอันใด, ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้า
พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง,
       ขอพระพุทธเจ้า จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น,
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ,
       เพื่อการสำรวมระวังในพระพุทธเจ้า ในกาลต่อไป.
๓.ธัมมานุสสติ
(ผู้เป็นหัวหน้ากล่าวนำว่า)
หันทะ มะยัง ธัมมานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส.
(แล้วสวดพร้อมกันว่า)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
   พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว,
สันทิฏฐิโก,            เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติถึงเห็นได้ด้วยตนเอง,
อะกาลิโก,          เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล,
เอหิปัสสิโก,        เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด,
โอปะนะยิโก,       เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ,   เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้.
๔.ธัมมาภิคีติ
(ผู้เป็นหัวหน้ากล่าวนำว่า)หันทะ มะยัง ธัมมาภิคีติง กะโรมะ เส.
(แล้วสวดพร้อมกันว่า)สวากขาตะตาทิคุณะโยคะ วะเสนะเสยโย,
       พระธรรม เป็นสิ่งที่ประเสริฐเพราะประกอบด้วยคุณ คือความที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้วเป็นต้น.
โย มัคคะ ปากะ ปะริยัตติวิโมก ขะเภโท
       เป็นธรรมอันจำแนกเป็นมรรคผล ปริยัติและนิพพาน,
ธัมโม กุโลกะปะตะนา ตะทะธาริธารี,
       เป็นธรรมทรงไว้ซึ่งผู้ทรงธรรมจากการตกไปสู่โลกที่ชั่ว,
วันทะมะหัง ตะมะหะรัง วะระธัมมะ เมตัง,
       ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมอันประเสริฐนั้นอันเป็นเครื่องขจัดเสียซึ่งความมืด,
ธัมโม โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
       พระธรรมใดเป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย,
ทุติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตังสิเรนะหัง,
       ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึก องค์ที่สองด้วยเศียรเกล้า,
ธัมมัสสาหัสมิ ทาโส (หญิงว่า ทาสี) วะ ธัมโม เม สามิกิสสะโร,
       ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระธรรม พระธรรมเป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า
ธัมโม ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
       พระธรรมเป็นเครื่องกำจัดทุกข์ และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า
ธัมมัสสาหัง นิยยาเทมี สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
       ข้าพเจ้าขอมอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระธรรม
วันทันโตหัง (หญิงว่า วันทันตีหัง) จะริสสามิ ธัมมัสเสวะ สุธัมมะตัง,
       ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ จักประพฤติตาม, ซึ่งความเป็นธรรมดีของพระธรรม,
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง,
        สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระธรรมเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า,
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยังสัตถุ สาสะเน,
       ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้, ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา,
ธัมมัง เม วันทะมาเนนะ (หญิงว่า วันทะมานายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
       ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระธรรม, ได้ขวนขวายบุญใดในบัดนี้,
สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา,
       อันตรายทั้งปวงอย่าได้แก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น.
(กราบขอขมา)
กาเยนะ วาจะยะ วะ เจตะสา วา,
       ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี,
ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
        กรรมน่าติเตียนอันใด, ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วในพระธรรม,
ธัมโม ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง,
       ขอพระธรรมจงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น,
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม,
เพื่อการสำรวมระวังในพระธรรม ในกาลต่อไป.
๕.สังฆานุสสติ
(ผู้เป็นหัวหน้ากล่าวนำว่า)
หันทะ มะยัง สังฆานุสติ กะโรมะ เส.
(แล้วสวดพร้อมกันว่า)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
       สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว,
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
       สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว,
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
       สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว,
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
       สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว,
ยะทิทัง,       ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ :-
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะ ปุคคะลา
       คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
       นั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระผู้มีพระภาคเจ้า,
อาหุเนยโย,                 เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะ ที่เขานำมาบูชา;
ปาหุเนยโย,              เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
ทักขิเณยโย,             เป็นผู้ควรรับทักษิณทาน,
อัญชะลีกะระณีโย,     เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี,
อนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ,
       เป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า, ดังนี้
๖.สังฆาภิคีติ
(ผู้เป็นหัวหน้ากล่าวนำว่า)  หันทะ มะยัง สังฆาภิคีติง กะโรมะ เส.
(แล้วสวดพร้อมกันว่า)        สัทธัมมะโช สุปะฎิปัตติคุณาทิยุตโต,
       พระสงฆ์ที่เกิดโดยพระสัทธรรมประกอบด้วยคุณมีความปฏิบัติดี เป็นต้น,
โยฏิฐัพพิโธ อะริยะปุคคะละสังฆะเสฏ โฐ,
เป็นหมู่แห่งพระอริยบุคคลอันประเสริฐ แปดจำพวก,
สีลาทิธัมมะปะวะราสะยะกายะจิตโต,
       มีกายและจิต อันอาศัยธรรมมีศีล เป็นต้น อันบวร,
วันทามะหัง ตะมะริยานะ คะณังสุ สุท ธัง,
       ข้าพเจ้าไหว้หมู่แห่งพระอริยเจ้าเหล่านั้น อันบริสุทธิ์ด้วยดี,
สังโฆ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
       พระสงฆ์หมู่ใดเป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย;
ตะติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตังสิเรนะหัง,
       ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้นอันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่สาม ด้วยเศียรเกล้า,
สังฆัสสาหัสมิ ทาโส (หญิงว่า ทาสี) วะสังโฆ เม สามิกิสสะโร,
       ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระสงฆ์ พระสงฆ์เป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า,
สังโฆ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตาจะ หัตัสสะ เม,
       พระสงฆ์เป็นเครื่องกำจัดทุกข์ และทรงไว้ซึ่งประโยชน์ข้าพเจ้า,
สังฆัสสาหัง นิยยาเทมี สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
       ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระสงฆ์;
วันทันโตหัง (หญิงว่า วันทันตีหัง) จะริสสามิ สังฆัสโสปะฏิปันนะตัง
       ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม,ซึ่งความปฏิบัติดีของพระสงฆ์
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง,
       สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระสงฆ์เป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,
       ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา,
สังฆัง เม วันทะมาเนนะ (หญิงว่า วันทะมานายะ) ยังปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
       ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งประสงฆ์ ได้ขวนขวายบุญใด ในบัดนี้,
สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา
       อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น.
(กราบขอขมา)
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,
       ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี,
สัมเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
       กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วในพระสงฆ์
สังโฆ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง,
       ขอพระสงฆ์ จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น,
กาลันตะเร สังวะริตุง วะสังเฆ,
       เพื่อการสำรวมระวัง ในพระสงฆ์ ในกาลต่อไป.
(จบคำทำวัตรเย็น)
นมัสการ พระอรหันต์ ๘ ทิศ
(นำ) หันทะมะยัง สะระภัญเญนะ พุทธะมังคะละคาถาโย ภะณามะ เสฯ
(รับ) สัมพุทโธ ทิปะทัง เสฎโฐ    นิสินโน เจวะ มัชฌิเม
      โกณฑัญโญ ปุพพะภาเคจะ อาคะเณยเย จะ กัสสะโป
สารีปุตโต จะทักขิเณ        หะระติเย  อุปาลี จะ
      ปัจฉิเมปิ จะ อานันโท        พายัพเพ จะ คะวัมปะติ
      โมคคัลลาโน จะ อุตตะเร   อีสาเนปิ จะราหุโล
      อิเม โข มังคะลา พุทธา            สัพเพ อิธะ ปะติฏฐิตา
      วันทิตา เต จะ อัมเหหิ        สักกาเรหิ จะปูชิตา
      เอเตสัง อานุภาเวนะ         สัพพะโสตถี ภะวันตะโนฯ
      อิจเจะมัจจันตะนะมัสสะเนยยัง
      นะมัสสะมาโน ระตะนัตตะยัง ยัง
      ปุญญาภิสันทัง วิปุลัง อะลัตถุง
      ตัสสานุภาเวนะ หะตันตะราโยฯ
บทสวดมนต์แปล อดีตปัจจเวกขณปาฐะ
หันทะ มะยัง อะตีตะปัจจะเวกขะณะปาฐัง ภะณามะ เสฯ
ข้อว่าด้วยจีวร
อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิตวา ยัง จีวะรัง ปะริภุตตัง,
       จีวรใดอันเรานุ่งห่มแล้ว ไม่ทันพิจารณา ในวันนี้,
ตัง ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะ,
       จีวรนั้นอันเรานุ่งห่มแล้ว เพียงเพื่อบำบัดความหนาว,
อุณหัสสะ ปะฏิฆาตายะ,
       เพื่อบำบัดความร้อน,
ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง ปฏิฆาตายะ
       เพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์ เลื้อย-คลานทั้งหลาย,
ยาวะเทวะ หิริโกปินะปะฏิจฉาทะนัตถังฯ
       และเพียงเพื่อปกปิดอวัยวะ อันให้เกิดความละอาย.
ข้อว่าด้วยบิณฑบาต
อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิตวา โย ปิณฑะปาโต ปะริภุตโต,
       บิณฑบาตใด  อันเราฉันแล้ว ไม่ทันพิจารณา ในวันนี้,
โส เนวะ ทะวายะ,
       บิณฑบาตนั้นเราฉันแล้ว ไม่ใช่เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลิน สนุกสนาน,
นะ มะทายะ, ไม่ใช่เป็นไปเพื่อความเมามัน เกิดกำลังพลังทางกาย
นะมัณฑะนายะ,         ไม่ใช่เป็นไปเพื่อประดับ,
นะ วิภูสะนายะ,          ไม่ใช่เป็นไปเพื่อตกแต่ง,
ยาวะเทวะ อิมัสสะ กายัสสะ ฐิติยา,
       แต่ให้เป็นไปเพียงเพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้,
ยาปะนายะ,              เพื่อความเป็นไปได้ของอัตภาพ,
วิหิงสุปะระติยา,         เพื่อความสิ้นไปแห่งความลำยากทางกาย,
พรัหมะจะริยานุคคะหายะ,
       เพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์,
อิติ ปุราณัญจะ เวทะนัง ปะฏิหังขามิ,
       ด้วยการทำอย่างนี้, เราย่อมระงับเสียได้ซึ่งทุกขเวทนาเก่า คือ ความหิว,
นะวัญจะ เวทะนัง นะ อุปปาเทสสามิ,
       และไม่ทำทุกขเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น,
ยาตรา จะ เม ภะวิสสะติ อะนะวัชชะตา จะ ผาสุวิหาโร จาติฯ
       อนึ่ง ความเป็นไปโดยสะดวกแห่งอัตภาพนี้ด้วย, ความเป็นผู้หา โทษมิได้ด้วย, และความเป็นอยู่โดยผาสุกด้วย, จักมีแก่เราดังนี้
ข้อว่าด้วยเสนานะ
อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิตวา ยัง เสนาสะนัง ปะริภุตตัง,
       เสนาสนะใด อันเราใช้สอยแล้ว ไม่ทันพิจารณา ในวันนี้,
ตัง ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะ,
       เสนาสนะนั้น เราใช้สอยแล้ว เพียงเพื่อบำบัดความหนาว,
อุณหัสสะ ปะฏิฆาตายะ,     เพื่อบำบัดความร้อน,
ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง ปะฏิฆาตายะ,
       เพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อย คลานทั้งหลาย,
ยะวะเทวะ อุตุปะริสสะยะวิโนทะนัง ปะฎิจฉาทะนัตถังฯ
       เพียงเพื่อบรรเท่าอันตรายอันจะพึงมีจากดินฟ้าอากาศ, และ เพื่อความเป็นผู้ยินดีอยู่ได้ ในที่หลีกเร้นสำหรับภาวนา.
ข้อว่าด้วยคิลานเภสัช
อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิตวา โย คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะ ริกยาโร ปะริภุตโต,
       คิลานเภสัชบริขารใด อันเราบริโภคแล้วไม่ทันพิจารณาในวันนี้
โส ยาวะเทวะ อุปปันนานัง เวยยาพาธิกานัง เวทะนานัง ปะฏิฆาตายะ,
       คิลานเภสัชบริขารนั้น เราบริโภคแล้ว เพียงเพื่อบำบัดทุกขเวทนา อันบังเกิดขึ้นแล้ว มีอาพาธต่างๆ เป็นมูล,
อัพยาปัชฌะปะระมะตายาติฯ
       เพื่อความเป็นผู้ไม่มีโรคเบียดเบียน เป็นอย่างยิ่ง, ดังนี้.
ท้ายกรณียเมตตสูตร
       เมตตัญจะ สัพพะโสกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง อุทธัง อะโธ จะติริยัญจะ อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง ติฏฐัญจะรัง นิสินโนวา สะยาโนวา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ เอตัง สติง อะธิฏ เฐยยะ พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ ทิฎฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา ทัสสะเนเนะ สัมปันโน กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติฯ
อเปตยัญจักขุมา
       อะเปตะยัญจักบุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิป ปะภาโส ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง เย พราหมาะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม เต เม นะโม เต จะมัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา อิมัง โส ปะริตตัง กัตวาโมโร วาสะมะกัปปะยีติฯ
คาถาบูชาพระพุทธสิหิงค์
หันทะ มะยัง พุทธะปะสังสาคาถางโย พุทธะสิหงโคนามะ ภะณามะ เส
(รับ) อิติ ปะวาระสิหิงโค           อุตตะมะยะโสปิ เตโช
      ยัตถุ กัตถะ จิตโตโส         สักกาโร อุปาโท
      สกาละพุทธะสาสะนัง        โชตะยันโตวะ ทีโป
      สุระนะเรหิมะหิโต             ธะระมาโนวะ พุทธธติ
            พุทธสิหิงคา                อุบัติมา ณ แดนใด
ประเสริฐ ธ เกริกไกร          ดุจกายพระศาสดา
เป็นที่เคารพน้อม                มนุษย์พร้อมทั้งเทวา
เปรียบเช่นชวาลา              ศาสนาที่ยืนยง
เหมือนหนึ่งพระสัมพุทธ      พระวิสุทธิ์พระชนม์คง
แดนใดพระดำรง               พระศาสน์คงก็จำรูญ
ด้วยเดชสิทธิศักดิ์               ธ พิทักษ์อนุกูล
พระศาสน์บ่มีสูญ                พระเพิ่มพูนมหิทธา
ข้าฯ ขอเคารพน้อม            วจีค้อมขึ้นบูชา
พิทักษ์ ธ รักษา                  พระศาสน์มาตลอดกาล
ปวงข้าฯ จะประกาศ           พุทธศาสน์ให้ไพศาล
ขอพระอภิบาล                   ชินมารนิรันดร์ เทอญฯ
คาถามงคลจักรวาล ๘ ทิศ
สวดทุกคืนเพื่อป้องกันภัยพิบัติต่างๆ
       อิมัสมิง  มงคลจักรวาลทั้งแปดทิศประสิทธิ จงมาเป็นกำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้นมาป้องกันห้อมล้อมรอบครอบทั่ว อะนัตตา ราชะ เสมานาเขตเต สะมันตา สะตะโยชะนะสะตะสะหัสสานิ  พุทธะชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุฯ
       อิมังสมิง มงคลจักรวาลทั้งแปดทิศประสิทธิ จงมาเป็นกำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้นมาป้องกันห้อมล้อมรอบครอบทั่ว อะนัตตา ราชะ เสมานาเขตเต สะมันตา สะตะโยชะนะสะตะสะหัสสานิ ธัมมะชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุฯ
       อิมัสมิง มงคลจักรวาลทั้งแปดทิศประสิทธิ จงมาเป็นกำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้นมาป้องกันห้อมล้อมรอบครอบทั่ว อะนัตตา ราชะ เสมานาเขตเต สะมันตา สะตะโยชะนะสะตะสะหัสสานิ ปัจเจกกะพุทธ ชาละปะริต เขตเต รักขันตุ สุรักขันตุฯ
       อิมัสมิง มงคงจักรวาลทั้งแปดทิศประสิทธิ จงมาเป็นกำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้นมาป้องกันห้อมล้อมรอบครอบทั่ว อะนัตตา ราชะเสมานาเขตเต สะมันตา สะตะโยชะนะสะตะสะหัสสานิ สังฆะ ชาละปะริกเขตเต รัก ขันตุ สุรักขันตุฯ
คาถาป้องกันภัยทั้ง ๘ ทิศ
เมื่อท่านสวดทุกวัน  จะป้องกันภัยอันตราย  เกิดโชคลาภ
       บูรพารัสมิง  พระพุทธะคุณัง บูรพารัสมิง พระธัมเมตัง บูรพารัสมิงพระสังฆานัง  ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย  สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเช สัพพะ ธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
       อาคเนรัสมิง พระพุทธะคุณัง อาคเนรัสมิง พระธัมเมตัง อาคเนรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะกะวัง วิวัญชัยเย  สัพพะทุกข์ สัพพะโศก  สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะ ธนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
       ทักษิณรัสมิง พระพุทธะคุณัง ทักษิณรัสมิง พระธัมเมตัง ทักษิณรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะ ธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
       หรดีรัสมิง พระพุทธะคุณัง หรดีรัสมิง พระธัมเมตัง หรดี รัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
       ปัจจิมรัสมิง พระพุทธะคุณัง ปัจจิมรัสมิง พระธัมเมตัง ปัจจิมรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
       พายัพรัสมิง พระพุทธะคุณัง พายัพรัสมิง พระธัมเมตัง พายัพรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
       อุดรรัสมิง พระพุทธะคุณัง อุดรรัสมิง พระธัมเมตัง อุดรรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
       อีสานรัสมิง พระพุทธะคุณัง อีสานรัสมิง พระธัมเมตัง อีสานรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราระห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
       อากาสรัสมิง พระพุทธะคุณัง อากาสรัสมิง พระธัมเมตัง อากาสรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
       ปฐวีรัสมิง พระพุทธะคุณัง ปฐวีรัสมิง พระธัมเมตัง ปฐวีรัสมิง พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะภัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุฯ
บทปลงสังขาร   เกศาผมหงอก
เกศาผมหงอก                 บอกว่าตัวเฒ่า                  ฟันฟางผมเผ้า
แก่แล้วทุกประการ           ตามืดหูหนัก                    ร้ายนักสาธารณ์
บ่ มิเป็นแก่นสาร             ใช่ตัวตนของเรา              แต่พื้นเปื่อยเน่า
เครื่องประดับกายเรา       โสโครกทั้งตัว                  แข้งขามือสั้น
เส้นสายพันพัว                เห็นน่าเกลียดกลัว           อยู่ในตัวของเรา
ให้มึนให้เมื่อย                 ให้เจ็บให้เหนื่อย             ไปทั่วเส้นขน
แก่แล้วโรคา                   เข้ามาหาตน                    ได้ความทุกข์ทน
โสกาอาวรณ์                  จะนั่งก็โอย                      จะลุกก็โอย
เหมือนดอกไม้โรย           ไม่มีเกสร                         แก่แล้วโรคา
เข้ามาวิงวอน                  ได้ความทุกข์ร้อน            ทั่วกายอินทรีย์
ครั้นสิ้นลมปาก                กลับกลายหายจาก          เรียกกันว่าผี
ลูกรักผัวรัก                     เขาชักหน้าหนี                เขาว่าซากผี
เปื่อยเน่าพุพอง                 เขาเสียไม่ได้                   เขาไปเยี่ยมมอง
เขา บ่ ได้ต้อง                  เกลียดกลัวหนักหนา       เขาผูกคอรัด
มือเท้าเขามัด                  รัดรึงตรึงตรา                   เขาหามเอาไป
ทิ้งไว้ป่าช้า                     เขากลับคืนมา                 สู่เหย้าเรือนพลัน
ตนอยู่เอกา                     อยู่กับหมูหมา                   ยื้อคร่าพัลวัน
ทรัพย์สินของตน             ขนมาปันกัน                    ข้าวของทั้งนั้น
ไม่ใช่ของเรา                  เมื่อตนยังอยู่                    เรียกว่าของกู
เดี๋ยวนี้เป็นของเขา          แต่เงินใส่ปาก                  เขายังควักล้วงเอา
ไปแต่ตัวเปล่า                 เน่าทั่วสารพางค์กาย       อยู่ในป่ารก
ได้ยินเสียงนก                 กึกก้องดงยาง                 ได้ยินหมาไน
ร้องไห้ครวญคราง          ใจจิตอ้างว้าง                  วิเวกวังเวง
มีหมู่นกแขวก                 บินมาร้องแรก                 แถกขวัญของตน
เหลียวไม่เห็นใคร           อกใจวังเวง                     ให้อยู่ครื้นเครง
รำพึงถึงตัว                     ตายไปเป็นผี                   เขาไม่ใยดี
ทิ้งไว้น่ากลัว                   ยิ่งคิดยิ่งพลัน                  กายสั่นระรัว
รำพึงถึงตัว                     อยู่ในป่าช้า                    ผัวมิ่งสินทรัพย์
ยิ่งแลยิ่งลับ                     ไม่เห็นตามมา                 เห็นแต่ศีลทาน
เมตตาภาวนา                 ตามเลี้ยงรักษา                อุ่นเนื้ออุ่นใจ
ศีลทานมาช่วย                ได้เพื่อนเป็นม้วย             เมื่อตนตายไป
ตบแต่งสมบัติ                  นพรัตน์โพยภัย               เลิศล้ำอำไพ
อัตตะกิเลสมากมี             ศีลพาไปเกิด                   ได้วิมานเลิศ
ประเสริฐโฉมศรี              นางฟ้าแห่ล้อม                ห้อมล้อมมากมี
ขับกล่อมดีดสี                  ฟังเสียงบรรเลง               บรรเลงสมบัติ
แก้วเก้าเนาวรัตน์            นับน้อยไปหรือ               คุณพระทศพล
ที่ตนนับถือ                     พระธรรมนั้นหรือ            สั่งสอนทุกวัน
พระสงฆ์องค์อารีรัก         มาเป็นปิ่นปัก                  พระกรรมฐาน
เอออวยสมบัติ                 นพรัตน์โอฬาร                ดีกว่าลูกหลาน
ประเสริฐเพริศเพรา         ลูกผัวที่รัก                      บ่ มิเป็นตำหนัก
รักเขาเสียเปล่า               เขาตามมิช่วย                 เพื่อนม้วยด้วยเรา
ไปหลงรักเขา                  เห็นไม่เป็นการ                รักตนดีกว่า
จำศีลภาวนา                   บำเพ็ญศีลทาน               จะได้ช่วยตน
ให้พ้นสงสาร                  ลุถึงสถาน                       ได้วิมานทอง
ผู้ใดใจพาล                    หลงรักลูกหลาน              จะต้องจำจอง
เป็นห่วงตัณหา               เข้ามารับรอง                  ตายไปจะต้อง  ตกจตุราบาย
บทปลงสังขาร
มนุษย์เราเอ๋ย                  เกิดมาทำไม                    นิพพานมีสุข
อยู่ใยมิไป                       ตัณหาหน่วงหนัก            หน่วงชักหน่วงไว้
ฉันไปมิได้                      ตัณหาผูกพัน                  ห่วงนั้นพันผูก
ห่วงลูกห่วงหลาน            ห่วงทรัพย์สินศฤงคาร     จงสละเสียเถิด
จะได้ไปนิพพาน             ข้ามพ้นภพสาม               ยามสาวหนุ่มน้อย
หน้าตาแช่มช้อย             งามแล้วทุกประการ         แก่เฒ่าหนังยาน
แต่ล้วนเครื่องเหม็น         เอ็นใหญ่เก้าร้อย             เอ็นน้อยเก้าพัน
ขนคิ้วก็ขาว                    นัยน์ตาก็มัว                    เส้นผมบนหัว
ดำแล้วกลับหงอก            หน้าตาเว้าวอก               ดูน่าบัดสี
จะลุกก็โอย                     จะนั่งก็โอย                     เหมือนดอกไม้โรย
ไม่มีเกสร                        จะเข้าที่นอน                   พึงสอนภาวนา
พระอนิจจัง                     พระอนัตตา                    เราท่านเกิดมา
รังแต่จะตาย                   ผู้ดีเข็ญใจ                      ก็ตายเหมือนกัน
เงินทองทั้งนั้น                 มีติดตัวไป                       ตายไปเป็นผี
ลูกเมียผัวรัก                   เขาชักหน้าหนี                เขาเหม็นซากผี
เปื่อยเน่าพุพอง               หมู่ญาติพี่น้อง                 เขาหามเอาไป
เขาวางลงไว้                   เขานั่งร้องไห้                  แล้วกลับคืนมา
อยู่แต่ผู้เดียว                   ป่าไม้ชายเขียว               เหลียวไม่เห็นใคร
เห็นแต่ฝูงแร้ง                 เห็นแต่ฝูงกา                   เห็นแต่ฝูงหมา
ยื้อแย้งกันกิน                  ดูน่าสมเพช                    กระดูกกูเอ๋ย
เรี่ยรายแผ่นดิน               แร้งกาหมากิน                เอาเป็นอาหาร
เที่ยงคืนสงัด                   ตื่นขึ้นมินาน                   ไม่เห็นลูกหลาน
พี่น้องเผ่าพันธุ์                เห็นแต่นกเค้า                 จับเจ่าเรียงกัน
เห็นแต่นกแสก                ร้องแรกแหกขวัญ           เห็นแต่ฝูงผี
ร้องไห้หากัน                  มนุษย์เราเอ๋ย                  อย่าหลงนักเลย
ไม่มีแก่นสาร                   อุตส่าห์ทำบุญ                 ค้ำจุนเอาไว้
จะได้ไปสวรรค์               จะได้ทันพระเจ้า             จะได้เข้านิพพาน
อะหัง วันทามิ สัพพะโส อะหัง วันทามิ นิพพานะปัจจะโย โหตุ
บทปลงสังขารแบบใหม่
โอ้ว่าอนิจจาสังขารเอ๋ย           มาลงเอยสิ้นสุดหยุดเคลื่อนไหว
เมื่อหมดหวังครั้งสุดท้ายไม่หายใจ        ธาตุลม ไฟ น้ำ ดิน ก็สิ้นตาม
นอนตัวแข็งสลดเมื่อหมดชีพ                     เขาตราสังใส่หีบสี่คนหาม
สู่ป่าช้าสิ้นเชื้อเหลือแต่นาม                ใครจะถามเรียกเราก็เปล่าดาย
นี่แหละหนอมนุษย์เรามีเท่านี้          หมดลมแล้วก็ไม่มีซึ่งความหมาย
วิญญาณปราศขาดลับดับจากกาย      หยุดวุ่นวายทุกๆสิ่งนอนนิ่งเอย
เมื่อชีวิตเรานี้มีลมอยู่                              จงเร่งสู้ศีลทานนะท่านเอ๋ย
ทั้งภาวนาทำใจหัดให้เคย                        อย่าละเลยความดีทุกวี่วัน
เมื่อสิ้นลมจิตพรากจากโลกนี้                    จะได้พาความดีไปสวรรค์
อย่าทำบาปน้อยนิดให้ติดพัน       เพราะบาปนั้นจะเป็นเงาตามเราไป
สู่นรกอเวจีที่มืดมิด                                สุดที่ใครตามติดไปช่วยได้
ต้องทนทุกข์สยดสยองในกองไฟ        ตามแต่กรรมของผู้ใดที่ได้ทำ
หมั่นสวดมนต์ภาวนารักษาศีล      สอนลูกหลานให้เคยชินทุกเช้าค่ำ
ให้รู้จักเคารพนบพระธรรม                 อย่าลืมคำที่พระสอนวอนให้ดี
เราเกิดมาเป็นคนได้ทั้งที                    ก็ควรจะสร้างความดีติดตัวไป
เพื่อจะได้เป็นสุขไม่ทุกข์ยาก              ไม่คับแค้นลำบากเมื่อเกิดใหม่
ใครทำดีย่อมสุขแท้จงแน่ใจ            ใครทำชั่วทุกข์ยากไร้ย่อมถึงตน
เร่งบำเพ็ญทานศีลและภาวนา                        แสวงหาแต่สิ่งบุญกุศล
ทรัพย์ภายนอกเป็นของโลกโศกระคน         ทรัพย์ภายในประดับตน
พ้นทุกข์เอย
กรวดน้ำตอนเย็น
อุททิสสนาธิฏฐานคาถา
(ผู้เป็นหัวหน้ากล่าวนำว่า)
หันทะ มะยัง อุททิสสะนาธิฏฐานะคาถาโย ภะณามะ เสฯ
(แล้วสวดพร้อมกันว่า)
อิมินา ปุญญะกัมเมนะ               ด้วยบุญนี้ อุทิศให้,
อุปัชฌายา คุณิตตะรา             อุปัชฌาย์ ผู้เลิศคุณ,
อาจาริยูปะการา จะ                  แลอาจารย์ ผู้เกื้อหนุน
มาตา ปิตา จะ ญาตะกา            ทั้งพ่อแม่ และปวงญาติ,
สุริโย จันทิมา ราชา                 สูรย์จันทร์ แลราชา,
คุณะวันตา นะราปิ จะ               ผู้ทรงคุณ หรือสูงชาติ,
พรัหมะมารา จะ อินทา จะ         พรหมมาร และอินทราช,
โลกะปาลา จะ เทวะตา              ทั้งทวยเทพ และโลกบาล,
ยะโม มิตตา มะนุสสา จะ           ยมราช มนุษย์มิตร,
มัชฌัตตา เวริกาปิ จะ               ผู้เป็นกลาง ผู้จองผลาญ,
สัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ             ขอให้เป็นสุขศานติ์ ทุกทั่วหน้าอย่าทุกข์ทน
ปุญญานิ ปะกะตานิ เม             บุญผองที่ข้าพเจ้าทำจงช่วย
อำนวยศุภผล,
สุขัง จะ ติวิธัง เทนตุ                 ให้สุข สามอย่างล้น,
ขิปปัง ปาเปถะ โวมะตัง             ให้บรรลุถึง นิพพานพลัน,
อิมินา ปุญญะกัมเมนะ             ด้วยบุญนี้ ที่เราทำ,
อิมินา อุททิเสนะ จะ                  และอุทิศให้ปวงสัตว์,
ขิปปาหัง สุละเภ เจวะ               เราพลันได้ ซึ่งการตัด,
ตัณหุปาทานะเฉทะนัง              ตัวตัณหา  อุปาทาน,
เย สันตาเน หินา ธัมมา             สิ่งชั่ว ในดวงใจ,
ยาวะ นิพพานะโต มะมัง             กว่าเราจะถึงนิพพาน
นัสสันตุ สัพพะทา เยวะ             มลายสิ้นจากสันดาน,
ยัตถะ ชาโต ภะเว ภะเว            ทุก ๆ ภพที่เราเกิด,
อุชุจิตตัง สะติปัญญา                มีจิตตรงและสติทั้งปัญญาอัน
ประเสริฐ,
สัลเลโข วิริยัมหินา                   พร้อมทั้งความเพียรเลิศ,
เป็นเครื่องขูดกิเลสหาย
มารา ละภันตุ โนกาสัง               โอกาสอย่าพึงมี แก่หมู่มารสิ้น
ทั้งหลาย,
กาตุญจะ วิริเยสุ เม                   เป็นช่องประทุษร้าย,
ทำลายล้างความเพียรจม,
พุทธาธิปะวะโร นาโถ               พระพุทธเจ้า ผู้บวรนาถ,
ธัมโม นาโก วะรุตตะโม             พระธรรมเป็นที่พึ่งอันอุดม
นาโถ ปัจเจกะพุทโธ จะ            พระปัจเจกะพุทธสมทบ
สังโฆ นาโถตตะโร มะมัง           พระสงฆ์ ที่พึ่งผยอง,
เตโสตตะมานุภาเวนะ               ด้วยอานุภาพนั้น,
มาโรกาสัง ละภันตุ มา             ขอหมู่มาร อย่าได้ช่อง
ทะสะปุญญานุภาเวนะ              ด้วยเดชบุญทั้งสิบป้อง,
มาโรกาสัง ละภันตุ มา ฯ           อย่าเปิดโอกาสให้แก่มาร(เทอญ)
คำแผ่เมตตาให้ตัวเอง
อะหัง สุขิโต โหมิ               ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุขกายสุขใจ
อะหัง อะเวโร โหมิ             ขอให้ข้าพเจ้าอย่าได้มีเวรกับผู้ใด
อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ     ขอให้ข้าพเจ้าอย่าได้เบียดเบียนกับผู้ใด
อะหัง อะนีโฆ โหมิ             ขอให้ข้าพเจ้าอย่าได้มีความทุกข์กาย
ทุกข์ใจ
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ ฯ  ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุขกายสุขใจรักษา
ตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด.
คำแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย
สัพเพ สัตตา   สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย  ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น  เราอุทิศบุญกุศลของเราให้หมดด้วยกัน     อะเวรา    จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพยาปัชฌา   จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย                                                                         
อะนีฆา     จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ   จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด
คำแผ่เมตตาให้บิดามารดา
       ข้าพเจ้าตั้งจิตอุทิศผล บุญกุศลนี้แผ่ไปให้ไพศาล ถึงบิดามารดาและอาจารย์ ทั้งลูกหลานญาติมิตรสนิทกัน คนเคยร่วมทำงานการทั้งหลาย มีส่วนได้ในกุศลผลของฉัน ทั้งเจ้ากรรมนายเวรและเทวัญ ขอให้ท่านได้กุศลผลนี้ เทอญ.
คำแผ่เมตตาให้ยมพบาล
กัมมะโตเมตัง ปะติชีวิตนัง ชีวิตตังจุติ  พุทธัง ชีวิตตัง
       ข้าพเจ้าทำสัตว์ที่มีชีวิตขอให้ไปปฏิสนธิกันเถิด
กัมมะโตเมตัง ปะติชีวิตนัง ชีวิตตังจุติ  ธัมมัง ชีวิตตัง
       ข้าพเจ้าทำสัตว์ที่มีชีวิตขอให้ไปปฏิสนธิกันเถิด
กัมมะโตเมตัง ปะติชีวิตนัง ชีวิตตังจุติ  สังฆัง ชีวิตตัง ฯ
       ข้าพเจ้าทำสัตว์ที่มีชีวิตขอให้ไปปฏิสนธิกันเถิด.
คำขอขมาลาโทษต่อกัน
       กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ มโนกรรม ๓ ที่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้สบประมาทพลาดพลั้งล่วงเกิดด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี เจตนาก็ดี ไม่เจตนาก็ดี รู้ก็ดี ไม่รู้ก็ดี ต่อหน้ากันก็ดี ลับหลังกันก็ดี ขอจงอโหสิ นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป อย่าได้มีเวรภัย เกิดชาติหนึ่งภพใดขอให้ได้สร้าง แต่กรรมดี สร้างบารมีของตนให้พ้นภัยพาล ลุล่วงบ่วงมาร ในอนาคตกาล เบื้องหน้าโน้น เทอญ.
คำแผ่เมตตามหาโชคลาภ
       อิติสุคะโต อะระหัง พุทโธ นะโม พุทธายะ ปะถะวีคงคา พระภุมมะเทวา ขะมามิหัง นาสังสิโม พรัหมา จะ มะหาเทวา สัพเพ ยักขา ปะรายันติ พรัหมา จะ มะหาเทวา อะภิลาภา ภะวันตุ เม มะหาปุญโญ มะหาลาโภ ภะวันตุ เต มิเตภาหุหะติ พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ วิระทะโม วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มามีมามะ พุทธัสสะ สัมปะฎิจฉามิ เพ็ง เพ็ง พา พา หา หา ลือ ลือ รวย รวย ฯ
คำปรารภ
หนังสือสวดมนต์(แปลไทย)คู่มือ อุบาสก-อุบาสิกา ฉบับนี้ได้แปลความหมายจาก บาลีเป็นไทย เพื่อให้ผู้ปฏิบัติธรรมได้สวดทำวัตรเช้า-เย็น  ให้เกิดความรู้ความเข้าใจในความหมาย ของบทพุทธมนต์ ที่ทำการสวดนั้น อันจะทำให้ผู้สวด ได้มีศรัทธาปสาทะ เกิดความซาบซึ้ง ในคุณของพระรัตนตรัย อันเป็นสรรพมงคลยิ่ง ทั้งเป็นการเพิ่มพูลบุญบารมี ในการปฏิบัติธรรมได้ครบองค์สามบริบูรณ์ทั้ง กาย วาจา ใจ คือ ตั้งใจ และ “เข้าใจ
หนังสือเล่มนี้ ครอบครัว “ม้าทอง” พร้อมบุตร-ธิดา และคณะอุบาสก-อุบาสิกา วัดท่าทอง ได้จัดสร้างอุทิศให้ คุณพ่อเจริญ-คุณแม่แก้ว ม้าทอง เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๕ เป็นการจัดสร้างครั้งที่ ๑ ปัจจุบันหนังสือได้ชำรุดทรุดโทรม และมีจำนวนไม่พอเพียงกับผู้ปฏิบัติธรรม และสาธุชนที่สนใจใคร่รู้ ดังนั้น พระอาจารย์ บุญชู ฐิตเปโม จึงได้ปรารภกับคณะอุบาสก-อุบาสิกา วัดท่าทอง ในการรวบรวมทุนทรัพย์ จัดสร้างเป็นครั้งที่ ๒
จึงขออนุโมทนาบุญ กับทุกๆท่านที่ได้ร่วมบริจาคทรัพย์ ในการจัดสร้างครั้งนี้ ให้ได้รับความสุขสวัสดี โดยถ้วนทั่วทุกท่านทุกคน เทอญ. สาธุ อนุโมทนามิ ภะวันตุเม.
สำนักปฏิบัติธรรม สมปรารถนา (พระอ.บุญชู)

                 และ สำนักสักยันต์ นารายณ์สิบทิศ (อ.ฑูรย์)
                                           ผู้ดำเนินงาน     
เผยแผ่เป็นธรรมทานแก่สาธุชนทุกท่านโดยครูน้อย นารายณ์พลิกแผ่นดิน       
 

เพจ Jiraporn Tongkampra

เพจ Jiraporn Tongkampra
แบ่งปันสื่อ ไอเดียสอนลูก ใบงาน ไฟล์แบบฝึกหัด เพื่อการเรียนรู้ของลูกน้อย ของเล่นเสริมพัฒนาการ

บ้านนารายณ์ซับสกรีน

บ้านนารายณ์ซับสกรีน
รับออกแบบยันต์ต่างๆ ปั้มลงผ้ายันต์และเสื้อยันต์ รวมทั้งเสื้อใส่เล่น ในราคาถูก

ช่องยูทูปครูน้อย

ช่องยูทูปครูน้อย
ติดตามคลิบวีดีโอที่แบ่งปันวิทยาทานและธรรมทานได้อีกช่องทาง