ตำราพรหมชาติฉบับสมบูรณ์
ยาม อัฏฐกาล
สิทธิการิยะฯ เมื่อจัดหาฤกษ์เวลาวางลัคน์ประจำดวงแบบเลข 7 ตัว ท่านให้กำหนดหาจากดวงดาวที่อยู่ไกลเข้ามาหาใกล้ที่สุดของโลก โดยกำหนด อย่างนี้
7 ดาวเสาร์ (เสารี)
5 ดาวพฤหัสบดี (ครุ)
3 ดาวอังคาร (ภุมมะ)
1 ดาวอาทิตย์ (สุริชะ)
6 ดาวศุกร์ (ศุกระ)
4 ดาวพุธ (พุธะ)
2 ดาวจันทร์ (จันเทา)
และกำหนดเอาชื่อดาวทั้ง 7 ดวงนี้เป็นชื่อของวันทั้ง 7 คือ สัปดาห์หนึ่ง โดยถอดเอาตัวกลางคือ 1
อาทิตย์ (สุริชะ) ไปอีกละ 4 ก็จะได้ 2 จันทร์ (จันเทา) และนับต่อจันทร์ออกไปอีก 4 ก็จะได้ 3 อังคาร (ภุมมะ)
นับในทำนองนี้เรื่อยไปจนครบทั้ง 7 ดวง เราก็จะได้ชื่อวันครบทั้ง 7 วัน เปลี่ยนแปลงชื่อเดิม ตามที่วงเล็บไว้เสียใหม่เป็นชื่อวัน ดังที่เราใช้เรียกกันทุกวันนี้ว่า อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์ ตามลำดับ
เมื่อกำหนดดาว ทั้ง 7 ดวง เป็นชื่อวันทั้ง 7 คือ สัปดาห์หนึ่งและยังแบ่งออกเป็น ชั่วโมงอีก จากเวลาเช้าพระอาทิตย์ขึ้นถึงเวลาเย็น พระอาทิตย์ตกเป็น 12 ชั่วโมง และจากพระอาทิตย์ตก ไปบรรจบพระอาทิตย์ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เป็นเวลา 12 ชั่วโมง ทั้งสองตอนรวม 24 ชั่วโมง เป็นเวลาหนึ่งวัน คือวันหนึ่งแบ่งออกเป็น 2 ภาค นี่เอง ภาคกลางวัน 12 ชั่วโมง ภาคกลางคืน 12 ชั่วโมง นับแต่พระอาทิตย์ขึ้น จนกระทั่งตกดิน และเริ่มขึ้นใหม่ อีกเป็นวันหนึ่ง
ตามวิชาโหราศาสตร์ กำหนดวันโดยใช้ดวงอาทิตย์เป็นเกณฑ์ คือ จากดวงอาทิตย์ขึ้นไปบรรจบดวงอาทิตย์ขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่งเป็นวันหนึ่ง (มิได้ใช้ 24 นาฬิกาล่วงไปแล้วเป็นวันใหม่ ดังเช่นเวลาทีทางการกำหนด)
ในภาคกลางวัน นับแต่ดวงอาทิตย์ ขึ้นจนตกดินนั้น เป็นเวลา 12 ชั่วโมง ตามกำหนดแบ่งออกเป็น 7 ตอนด้วยกัน ตอนหนึ่งเรียกว่ายามหนึ่ง เวลา 12 ชั่วโมง หรือ แบ่งยามเป็น 8 ยาม คงได้ยามละ 1 ชั่วโมง 30 นาที และภาคกลางคืน ท่านก็แบ่งออกเป็น 8 ยาม เหมือนกัน ยามละ 1 ชั่วโมง 30 นาที เท่ากัน
ยามทั้ง 8 ทั้งภาคกลางวัน และกลางคืน มีชื่อยามเรียกแตกต่างกัน โดยกำหนดเอาชื่อของวันนั้นเป็นยามแรก แต่เพราะชื่อที่จะเรียกมี 7 ยามเท่านั้น เพราะฉะนั้น ยามสุดท้ายจึงหวนไปใช้ชื่อยามต้นเรียกสงเคราะห์เข้าเป็น 8 ยามด้วยกัน
ตัวอย่าง
ยามกลางวัน วันอาทิตย์ ให้เอา สุริชะ (1) เป็นยามต้น
ยามกลางวัน วันจันทร์ ให้เอา จันเทา (2) เป็นยามต้น
ยามกลางวัน วันอังคาร ให้เอา ภุมมะ (3) เป็นยามต้น
ยามกลางวัน วันพุธ ให้เอา พุธะ (4) เป็นยามต้น
ยามกลางวัน วันพฤหัสบดี ให้เอา ครุ (5) เป็นยามต้น
ยามกลางวัน วันศุกร์ ให้เอา ศุกระ (6) เป็นยามต้น
ยามกลางวัน วันเสาร์ ให้เอา เสารี (7) เป็นยามต้น
วิธีเรียงยาม กลางวัน
วันอาทิตย์
06.00 - 07.30 น. เป็นยาม สุริชะ (1) คือยาม ต้น
07.30 – 09.30 น. “ ศุกระ (6) “ 2
09.00 – 10.30 น. “ พุธะ (4) “ 3
10.30 – 12.00 น. “ จันเทา (2) “ 4
12.00 – 13.30 น. “ เสารี (7) “ 5
13.00 – 15.00 น. “ ครุ (5) “ 6
15.00 – 16.30 น. “ ภุมมะ (3) “ 7
16.30 – 18.00 น. “ สุริชะ (1) “ 8
วันจันทร์
06.00 - 07.30 น. เป็นยาม จันเทา (2 ) คือยาม ต้น
07.30 – 09.30 น. “ เสารี (7 ) “ 2
09.00 – 10.30 น. “ ครุ ( 5 ) “ 3
10.30 – 12.00 น. “ ภุมมะ (3 ) “ 4
12.00 – 13.30 น. “ สุริชะ ( 1 ) “ 5
13.00 – 15.00 น. “ ศุกระ ( 6 ) “ 6
15.00 – 16.30 น. “ พุธะ ( 4 ) “ 7
16.30 – 18.00 น. “ จันทา ( 2 ) “ 8
วันอังคาร
06.00 - 07.30 น. เป็นยาม ภุมมะ ( 3 ) คือยาม ต้น
07.30 – 09.30 น. “ สุริชะ ( 1 ) “ 2
09.00 – 10.30 น. “ ศุกระ ( 6 ) “ 3
10.30 – 12.00 น. “ พุธ ( 4 ) “ 4
12.00 – 13.30 น. “ จันเทา ( 2 ) “ 5
13.00 – 15.00 น. “ เสารี ( 7 ) “ 6
15.00 – 16.30 น. “ ครุ ( 5 ) “ 7
16.30 – 18.00 น. “ ภุมมะ ( 3 ) “ 8
วันพุธ
06.00 - 07.30 น. เป็นยาม พุธ ( 4 ) คือยาม ต้น
07.30 – 09.30 น. “ จันเทา ( 2 ) “ 2
09.00 – 10.30 น. “ เสารี ( 7 ) “ 3
10.30 – 12.00 น. “ ครุ ( 5 ) “ 4
12.00 – 13.30 น. “ ภุมมะ ( 3 ) “ 5
13.00 – 15.00 น. “ สุริชะ ( 1 ) “ 6
15.00 – 16.30 น. “ ศุกระ ( 6 ) “ 7
16.30 – 18.00 น. “ พุธะ ( 4 ) “ 8
พฤหัสบดี
06.00 - 07.30 น. เป็นยาม ครุ (5 ) คือยาม ต้น
07.30 – 09.30 น. “ ภุมมะ ( 3 ) “ 2
09.00 – 10.30 น. “ สุริชะ ( 1) “ 3
10.30 – 12.00 น. “ ศุกระ ( 6) “ 4
12.00 – 13.30 น. “ พุธะ ( 5) “ 5
13.00 – 15.00 น. “ จันเทา ( 2) “ 6
15.00 – 16.30 น. “ เสารี ( 7) “ 7
16.30 – 18.00 น. “ ครุ ( 5) “ 8
วันศุกร์
06.00 - 07.30 น. เป็นยาม ศุกระ ( 6 ) คือยาม ต้น
07.30 – 09.30 น. “ พุธะ ( 4 ) “ 2
09.00 – 10.30 น. “ จันเทา ( 2 ) “ 3
10.30 – 12.00 น. “ เสารี ( 7 ) “ 4
12.00 – 13.30 น. “ ครุ ( 5 ) “ 5
13.00 – 15.00 น. “ ภุมมะ ( 3 ) “ 6
15.00 – 16.30 น. “ สุริชะ ( 1 ) “ 7
16.30 – 18.00 น. “ ศุกระ ( 6 ) “ 8
วันเสาร์
06.00 - 07.30 น. เป็นยาม เสารี ( 7 ) คือยาม ต้น
07.30 – 09.30 น. “ ครุ ( 5 ) “ 2
09.00 – 10.30 น. “ ภุมมะ ( 3 ) “ 3
10.30 – 12.00 น. “ สุริชะ ( 1 ) “ 4
12.00 – 13.30 น. “ ศุกระ ( 6 ) “ 5
13.00 – 15.00 น. “ พุธะ ( 4 ) “ 6
15.00 – 16.30 น. “ จันเทา ( 2 ) “ 7
16.30 – 18.00 น. “ เสารี ( 7 ) “ 8
ยามทั้ง 7 วัน ที่แบ่งไว้นี้ เป็นวิธีแบ่งยามในกลางวัน ของวันทั้ง 7 จาก 6 โมงเช้า ถึง 6 โมงเย็น
(18.00 น.) ยามละ 1 ชั่วโมง 30 นาที เปลี่ยนชื่อยามที่ขึ้นต้นแล้วเวียนไปตามลำดับ
จากสุริยะ (1) ศุกระ (6) พุธะ (4) จันเทา (2) เสารี (7) ครุ (5) ภุมมะ (3) และชื่อยามอันนี้แหละ ต้องจำไว้เป็นหลักสำคัญ เพราะการหมุนเวียนของยามในวันหนึ่ง ๆ นั้นต้องเปลี่ยนไปตามนี้
ส่วนในยามเวลากลางคืน ที่เริ่มต้นด้วยเวลา 6 โมงเย็น คือ 18.00 น. เป็นต้นยาม จนถึง 19.30 น. จาก 19.30 น. จนถึง 21.00 น. เป็นยามที่ 2 จาก 21.00 น. จนถึง 22.30 น. เป็นยามที่ 3 จาก 22.30 น จนถึง 24.00 น. เป็นยามที่ 4 จาก 24.00 น. จนถึง 1.30 น. เป็นยามที่ 5 จาก 1.30 น. จนถึง 3.00 น. เป็นยามที่ 6 จาก 3.00 น. จนถึง 4.30 น. เป็นยามที่ 7 จาก 4.30 น. จนถึง 6.00 น. (ย่ำรุ่ง) เป็นยามที่ 8
แต่การนับยามในเวลากลางคืนนั้น ท่านกำหนดเช่นเดียวกับยามกลางวัน แต่ชื่อวัน เรียกต่างไปอีก โดยจะหมุนเวียนเปลี่ยนไปอย่างนี้